Page 213 - kpi15476
P. 213
212 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
โบราณกาล ดังเช่น ในสมัยสุโขทัย ที่มีการแขวนกระดิ่งร้องทุกข์ไว้สำหรับราษฎร โดยในที่นี้
พระมหากษัตริย์จึงเปรียบเสมือน “พ่อ” ที่คอยประสิทธิประสาทความยุติธรรมให้แก่ “ลูก” แต่
สำหรับในกรณีของการขอพระราชทานอภัยโทษนั้น มิได้หมายความว่าพระมหากษัตริย์จะทรง
เข้าไปก้าวล่วงในความผิดถูกชอบธรรมของคำพิพากษาของศาลแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการที่
ราษฎรเข้ามาขอพระมหากรุณาโดยแท้เท่านั้น (ธงทอง จันทรางศุ, 2529, น.153)
พระราชอำนาจ - ในที่นี้ สามารถแบ่งพระราชอำนาจออกได้เป็น 3 ประเภทคือ พระราช
อำนาจที่ทรงริเริ่มและเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย, พระราชอำนาจที่ทรงริเริ่มแต่อาจไม่เป็นไป
ตามพระราชอัธยาศัย, พระราชอำนาจที่มิได้ทรงริเริ่มซึ่งเกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร
และฝ่ายตุลาการ ซึ่งพระราชอำนาจทั้ง 3 ประเภทนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นพระราชอำนาจที่อยู่ในกรอบ
ของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพียงแต่แยกออกมาเพื่อให้เห็นได้ชัดเจนขึ้นเท่านั้น โดยมี
รายละเอียดดังต่อไปนี้
พระราชอำนาจที่ทรงริเริ่มและเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย หมายถึง พระราชอำนาจที่
พระมหากษัตริย์สามารถที่จะใช้ได้โดยอิสระ ปราศจากการชี้นำของผู้อื่น และสิ่งที่ทรงรับสั่ง
ออกไปนั้น ก็จะถูกนำไปบังคับใช้ได้ตรงตามพระราชประสงค์ทุกประการ โดยเราสามารถเรียก
พระราชอำนาจประเภทนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “พระราชอำนาจโดยแท้” ซึ่งพระราชอำนาจประเภทนี้
ได้แก่ พระราชอำนาจในการทรงเลือก แต่งตั้งหรือถอดถอนองคมนตรี, พระราชอำนาจแต่งตั้ง
หรือถอดถอนข้าราชการในพระองค์และสมุหราชองครักษ์, พระราชอำนาจในการแต่งตั้งผู้สำเร็จ
ราชการแผ่นดิน, พระราชอำนาจริเริ่มในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการการสืบ
ราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2467 และพระราชอำนาจในการแต่งตั้งองค์รัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาล
ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2467
พระราชอำนาจที่ทรงริเริ่มแต่อาจไม่เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย หมายถึง พระราชอำนาจที่
พระมหากษัตริย์ทรงใช้เมื่อเห็นว่า สิ่งที่มีผู้เสนอให้ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อบังคับใช้ในประเทศนั้น
เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร จึงทรงสามารถปฏิเสธการลงพระปรมาภิไธยได้
แต่ทั้งนี้ เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ฝ่ายผู้เสนอเองก็สามารถที่จะนำสิ่งนั้น
ไปบังคับใช้ได้หากเป็นไปตามกฎเกณฑ์แห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระราชอำนาจประเภทนี้ได้แก่
พระราชอำนาจในการทรงยับยั้งร่างกฎหมาย ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่า กรณีที่
พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยในร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญและพระราชทานคืนมายังสภา หรือเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน แล้วมิได้พระราชทาน
คืนมา รัฐสภาจะต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
นั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสาม ให้นายกรัฐมนตรี
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ถวายอีกครั้ง หากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายในสามสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรี
นำร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม
นำพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สามารถใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
(ปิยบุตร แสงกนกกุล, 2550, น.19)