Page 214 - kpi15476
P. 214

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   213


                            อนึ่ง แม้ว่าตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญจะได้บัญญัติไว้ว่าให้ปฏิบัติตามข้อความข้างต้น แต่
                      ตามธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ (Constitutional conventions) ของไทยแล้ว ในกรณีที่

                      พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบในร่างกฎหมายใด หรือไม่พระราชทานร่างกฎหมายใดคืนมา
                      ภายใน 90 วัน รัฐสภาจะไม่นำร่างกฎหมายนั้นกลับมาพิจารณาเพื่อยืนยันใหม่ แต่จะให้ร่าง
                      กฎหมายนั้นตกไป แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะเปิดช่องให้นำกลับมาพิจารณาใหม่ได้ก็ตาม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้น

                      อยู่กับพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ด้วย (ปิยบุตร แสงกนกกุล, 2550,
                      น.20) แต่โดยปกติแล้ว พระมหากษัตริย์จะทรงรับร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา

                      เสมอ (เจษฎา พรไชยา, 2546, น.131)

                            พระราชอำนาจที่มิได้ทรงริเริ่มซึ่งเกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ

                      ซึ่งทั้ง 3 ฝ่ายนี้ เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์จะทรงใช้
                      อำนาจอธิปไตยตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าจะทรงใช้อย่างไร ผ่านใคร

                      ในสถานการณ์ใด และในเวลาใด ในที่นี้จึงมิได้หมายความว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของ
                      อำนาจอธิปไตย เพียงแต่ทรงมี “พระราชอำนาจ” ในการใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางองค์กรทั้ง
                      3 ฝ่ายตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้เท่านั้น (พูนศักดิ์ วรรณพงษ์, 2538, น.77) ดังบทบัญญัติ

                      แห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ที่ได้กล่าวไว้ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์
                      ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่ง

                      รัฐธรรมนูญนี้” โดยการใช้อำนาจในส่วนนี้ของพระมหากษัตริย์ จะต้องมีผู้ถวายคำแนะนำและมี
                      ผู้รับสนองพระบรมราชโองการเสมอ (ปิยบุตร แสงกนกกุล, 2550, น.18-21) จึงกล่าวได้ว่าเป็น
                      พระราชอำนาจที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงริเริ่มใช้ด้วยพระองค์เองซึ่งพระราชอำนาจที่ทรงใช้ผ่าน

                      ทางองค์กรแต่ละฝ่ายมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


                            ฝ่ายนิติบัญญัติ ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านทางรัฐสภา โดยพระราชอำนาจเหล่านั้นได้แก่
                      พระราชอำนาจทรงเรียกประชุมและปิดประชุมรัฐสภา, พระราชอำนาจในการยุบสภาผู้แทน
                      ราษฎร, พระราชอำนาจในการลงพระปรมาภิไธยกฎหมายให้มีผลบังคับใช้, พระราชอำนาจในการ

                      แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลตามคำแนะนำของรัฐสภา


                            ฝ่ายบริหาร ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านทางคณะรัฐมนตรี โดยพระราชอำนาจเหล่านั้นได้แก่
                      พระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี, พระราชอำนาจในการแต่งหรือถอดถอนรัฐมนตรี,
                      พระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนดและพระราชกฤษฎีกา, พระราชอำนาจในการประกาศ

                      สงคราม, พระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่นกับ
                      นานาประเทศ, พระราชอำนาจในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์,

                      พระราชอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการทหารและพลเรือนระดับสูง


                            ฝ่ายตุลาการ ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านทางศาล โดยพระราชอำนาจเหล่านี้ได้แก่ พระราช
                      อำนาจทรงแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, พระราชอำนาจในการพิพากษาคดี (กระทำใน
                      พระปรมาภิไธย), พระราชอำนาจทรงแต่งตั้งหรือให้ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมพ้นจากตำแหน่ง,

                      พระราชอำนาจทรงแต่งตั้งหรือให้ประธานศาลปกครองสูงสุดและตุลาการศาลปกครองสูงสุด                        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                      พ้นจากตำแหน่ง, พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219