Page 215 - kpi15476
P. 215
214 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
สถาบันพระมหากษัตริย์ตามนิติราชประเพณี
พระราชสถานะ - สำหรับพระราชสถานะในทางนิติราชประเพณีนั้น กล่าวได้ว่า มีรูปแบบ
อยู่ค่อนข้างมาก ซึ่งแตกต่างกันไปตามยุคสมัยหากพิจารณาในแง่ของระบอบการปกครอง
“ทางโลก” กล่าวคือ เมื่ออ่านประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดินแดนที่ถูกเรียกว่าเป็น
ราชอาณาจักรไทยในปัจจุบัน ก็จะพบว่า ในแต่ละยุคสมัยนั้น พระมหากษัตริย์จะมีรูปแบบของ
พระราชสถานะที่แตกต่างกันตามระบอบการปกครองที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหลักฐานของพระราช
สถานะที่เราสามารถพบเห็นได้เก่าแก่ที่สุดก็คือ สมัยสุโขทัย ที่มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก
ตามที่ปรากฏรายละเอียดในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งพระราชสถานะนี้
พระมหากษัตริย์จะค่อนข้างมีความใกล้ชิดกับประชาชน ราวกับว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง “พ่อ”
กับ “ลูก” เช่น ในกรณีของการถวายฎีการ้องทุกข์ ที่ประชาชนทั่วไปสามารถที่จะเข้าไปสั่นกระดิ่ง
หน้าพระราชวังได้โดยตรง เพื่อให้พระมหากษัตริย์ออกมาตัดสินคดี จนมาถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ก็ได้เปลี่ยนเป็นแบบเทวราชา คือ พระมหากษัตริย์จะทรงมี
พระราชอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ที่ได้ตรัสออกไป
นั้นถือเป็นอันเด็ดขาด ประดุจวาจาสิทธิ์ของเทพเจ้า ซึ่งจากพระราชสถานะเช่นนี้ ทำให้เราอนุมาน
ได้ว่า ความใกล้ชิดระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชนคงจะมีอยู่น้อยเป็นแน่ ดังนั้นความ
สัมพันธ์ระหว่างประชาชนและพระมหากษัตริย์จึงเป็นแบบ “เทวดา” กับ “มนุษย์” จวบจนถึงสมัย
รัตนโกสินทร์ กล่าวได้ว่า พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ก็ได้มีการนำความเชื่อในแต่ละยุคสมัย
มาผสมผสานกัน จนเกิดเป็นพระราชสถานะเฉพาะพระองค์ของพระมหากษัตริย์ในสมัย
รัตนโกสินทร์ โดยพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์จะมีการปรับพระราชสถานะของพระองค์เองให้
เข้ากับเหตุการณ์บ้านเมืองอยู่เสมอ มิได้ทรงยึดถือคติความเชื่อแบบใดแบบหนึ่งเพียงอย่างเดียว
เช่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตั้งพระราชสถานะของพระองค์เองว่าเป็น
อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ อันหมายถึง พระมหากษัตริย์ที่ประชาชนพร้อมใจกันตั้งขึ้น ซึ่งแสดง
ให้เห็นว่าทรงมีการนำคติทางพระพุทธศาสนามาใช้ (นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2549, น.36-37)
มิได้ทรงยึดคติของศาสนาพราหมณ์เพียงอย่างเดียว หรือการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวได้ทรงมีการปฏิรูปพระราชประเพณีบางอย่างที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยเปิดกว้างที่จะปรับปรุงพระราชสถานะของ
พระองค์เองตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์สุขของชาติบ้านเมือง
จากที่กล่าวมาแล้วนี้ ถ้าสังเกตให้ดีก็จะพบว่า พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์แต่ละ
รัชสมัย ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ล้วนเป็น
พระราชสถานะที่ให้พระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์อย่างสูงสุดทั้งสิ้น เพราะแต่เดิมเป็นที่
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ตามธรรมชาติของพระมหากษัตริย์ ตามคำอธิบายของศาสนาพราหมณ์ ส่วนในทางพุทธศาสนา
ยอมรับกันว่า อำนาจอธิปไตยเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้เป็นไปตามทฤษฎีว่า
ด้วยอาชญาสิทธิ์ หรืออำนาจแห่ง “ทัณฑะ” ซึ่งหมายถึงอำนาจสูงสุดในการลงโทษ อันเป็นอำนาจ
นั้น พระมหากษัตริย์ทรงอาชญาสิทธิในฐานะที่เป็น “มหาสมมติ” ซึ่งหมายถึง ผู้ที่ได้รับเลือกด้วย
ความยินยอมจากพสกนิกรให้ทำหน้าที่ผู้ปกครอง จึงมีหน้าที่อันเป็นฐานแห่งพระราชอำนาจ
ที่จะพิจารณาคุณและโทษอย่างเป็นธรรม (กิตติศักดิ์ ปรกติ, 2549, น.3) ซึ่งถึงแม้ว่า