Page 218 - kpi15476
P. 218

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   21


                      อยู่บนยอด และมีประชาชนอยู่ข้างล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ดูเหมือนทุกอย่างจะตรงกัน
                      ข้าม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกปวดต้นคอและบริเวณไหล่อยู่เสมอ...” (ประมวล รุจนเสรี,

                      2548, น.53) และพระราชดำรัสที่ทรงตรัสขณะเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารความตอนหนึ่ง
                      ว่า “ราษฎรเขาเสี่ยงภัยมากกว่าเราหลายเท่า เพราะเขาต้องอยู่ที่นั่น เขายังอยู่กันได้ แล้วเราจะ
                      ขลาด แม้แต่จะไปเยี่ยมเยียนทุกข์สุขเขาเชียวหรือ” (ธานินทร์ กรัยวิเชียร, 2520, น.40)


                            ประการที่สาม พระราชอำนาจในการพระราชทานคำแนะนำและตักเตือน ซึ่งพระราชอำนาจ

                      ในส่วนนี้ นับว่าเป็นพระราชอำนาจที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าส่วนอื่น เพราะพระมหากษัตริย์
                      ทุกพระองค์ ย่อมมี “สิทธิอันชอบธรรม” ที่จะพระราชทานคำแนะนำและคำตักเตือนที่ออกมาจาก
                      พระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นไปด้วยพระ เมตตาต่อพสกนิกรของพระองค์ตามนิติราชประเพณี ซึ่งใน

                      กรณีนี้ ย่อมรวมถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วย เพราะ
                      ถึงแม้ว่าตามหลักเกณฑ์ทางการปกครองแล้ว พระมหากษัตริย์จะต้องทรงวางพระองค์เป็นกลาง

                      ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่ในทางปฏิบัติก็เป็นที่ยอมรับกันว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีพระปรีชาสามารถที่
                      จะทรงวินิจฉัยเรื่องราวที่เกิดขึ้น และพระราชทานคำแนะนำได้ ไม่ว่าเรื่องนั้นจะส่งผลกระทบกับ
                      ผู้ใดก็ตาม ย่อมไม่เป็นที่คลางแคลงใจแก่ประชาชน เพราะพระองค์ทรง “ติเพื่อก่อ” มิใช่ “ติเพื่อ

                      ทำลาย” แต่ทั้งนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ด้วย โดย
                      พระราชอำนาจในการพระราชทานคำแนะนำและตักเตือนนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ

                      ระดับประชาชนและระดับรัฐบาล ซึ่งในระดับประชาชนนั้น พระมหากษัตริย์มักจะมีการ
                      พระราชทานพระบรมราโชวาทเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตในเรื่องต่างๆแก่ประชาชนและ
                      คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าอยู่เสมอ เช่น เรื่องรู้รักสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรกรรม ฯลฯ

                      ส่วนในด้านของรัฐบาลนั้น พระองค์ก็ได้ทรงพระราชทานคำแนะนำในโอกาสต่างๆ ไว้เป็นจำนวน
                      มาก เช่น หลักการแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้(เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา) การแก้

                      ปัญหาน้ำท่วม การแก้ปัญหาภัยแล้ง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตที่แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้
                      ชิดระหว่างรัฐบาลและพระมหากษัตริย์อยู่อีกประการหนึ่งคือ แม้ว่านายกรัฐมนตรีของไทยจะมิได้
                      มีธรรมเนียมที่กำหนดให้เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์เป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างนายกรัฐมนตรีของ

                      ประเทศอังกฤษ แต่นายกรัฐมนตรีของไทยก็มักจะมีการเข้าเฝ้าถวายรายงานต่อพระมหากษัตริย์
                      อยู่เสมอทั้งในวโรกาสที่เป็นทางการไม่เป็นทางการ (ธงทอง จันทรางศุ, 2529, น.96-97)


                            จากที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์
                      กับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงไว้ซึ่งพระราชสถานะและ

                      พระราชอำนาจทั้งที่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และที่เป็นไปตามนิติราชประเพณี
                      โดยพระราชสถานะและพระราชอำนาจทั้งสองทางนี้ ก็มิได้ปรากฏว่ามีความขัดแย้งกันแต่ประการ

                      ใดเลย ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากพระปรีชาสามารถขององค์พระมหากษัตริย์เองที่ทรงสามารถปรับการ
                      กระทำของพระองค์ให้สอดคล้องไปกับหลักการแห่งประชาธิปไตยได้ โดยที่พระบรมเดชานุภาพ
                      และพระบารมีก็ยังคงมีอยู่ตามเดิม และถ้าสังเกตให้ดีก็จะพบว่า พระมหากษัตริย์ในระบอบ

                      ประชาธิปไตยนั้น มิได้ทรงติดอยู่กับพระราชสถานะตามกฎหมายและราชประเพณีเพียงอย่าง
                      เดียว แต่ยังทรงมีบทบาทในกิจการสาธารณะในด้านต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศชาติ               เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223