Page 223 - kpi15476
P. 223
222 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ให้ความหมาย
ของการศึกษาว่า “เป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการ
ถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานวัฒนธรรม การสร้างสรรจรรโลงความก้าวหน้า
ทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัย
เกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” ซึ่งสอดคล้องกับหลักการจัดการศึกษาทั่วไป
(general education) ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เริ่มมาจากความคิดว่า การพัฒนาคนหรือ
ทรัพยากรมนุษย์จะต้องมีความสมบูรณ์และสมดุลตามองค์ประกอบธรรมชาติของมนุษย์ คือ
ร่างกาย และจิตใจ (อารมณ์ ความคิด สติปัญญา และจิตวิญญาณ) ทั้งนี้ในการจัดรูปแบบการ
เรียนรู้ในระบบการศึกษาปัจจุบันที่ช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้น มีอย่าง
หลากหลายซึ่งต่างได้ให้ความสำคัญกับแหล่งเรียนรู้ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกสถานศึกษา จึงจะ
สามารถพัฒนานักศึกษาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต อาชีพ วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและทรัพยากร
ของชุมชน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นสถาบันอุดมศึกษาไทยที่อยู่ใน
กำกับดูแลของรัฐบาล ซึ่งเปิดทำการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา โดยมี
คณะศิลปศาสตร์ สำนักศึกษาทั่วไป ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนรายวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป
โดยเฉพาะในกลุ่มสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์และภาษา อันเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนที่จัด
บริการให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีในแต่ละคณะภาควิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งวิชา
มนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต เป็นวิชาหลักที่สำคัญในหมวดศึกษาทั่วไป ในกลุ่ม
สังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ ที่นอกจากจะมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
ที่จัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านการดำเนินการจัดทำโครงงานทางสังคม
ในลักษณะเป็นกลุ่มห้องเรียนย่อยแล้วยังมีการจัดบรรยายในห้องเรียนหลัก ซึ่งหนึ่งในหัวข้อ
บรรยายนั้นคือหัวข้อเรื่องพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการ
บรรยายพร้อมให้นักศึกษาเขียนสรุปบันทึกการเรียนรู้ อนึ่งในภารกิจหลักของ มจธ. ที่สำคัญยิ่ง
คือ การพัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ ตามวิสัยทัศน์
คือ มุ่งธำรงปณิธานในการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี การที่มหาวิทยาลัยจะสามารถบรรลุ
เป้าประสงค์ภารกิจดังกล่าวนั้น วิชามนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งใน
วิชาหลักของวิชาศึกษาทั่วไป จึงเป็นวิชาที่ได้รับการคาดหวังว่าจะสามารถตอบสนองต่อภารกิจ
ดังกล่าว และช่วยสนับสนุนให้ระบบการศึกษาปัจจุบันบรรลุเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาตาม
แนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย คิดวิเคราะห์เพื่อการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผ่าน
จากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเรื่องการเรียนรู้คุณธรรมผู้นำสิบประการ และการ
การรับฟังการบรรยายพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวิชามนุษย์กับ
หลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต