Page 226 - kpi15476
P. 226

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   225


                            ทั้งนี้การจัดการศึกษาทั่วไปในวิชามนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต ในวิชา
                      ศึกษาทั่วไป ซึ่งหนึ่งในการจัดกระบวนการเรียนรู้นั้น มีการใช้รูปแบบการบรรยายพระราชประวัติ

                      ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สูงสุดของ มจธ. ในห้องเรียนรวม
                      เพื่อให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนวิชานี้ทุกคนได้รับฟัง โดยผลลัพธ์ส่วนที่สำคัญน่าจะทำให้นักศึกษา
                      เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักคุณธรรมผู้นำสิบประการด้วย จึงจะทำให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษา

                      แล้วเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพมีภาวะผู้นำ (เก่ง และดี) คือเป็นผู้ที่มีความสามารถและมีคุณธรรม
                      จริยธรรมของผู้นำ ซึ่งสามารถเขียนตามแนวคิดเชิงระบบ(Bertalanffy, 1968) ดังแผนภูมิต่อไปนี้




                              Input                              Process                             Output

                             นักเรียน                  การบรรยายพระราชประวัติของ                 การเรียนรู้เกี่ยวกับ
                               ฯลฯ
                                                    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว        คุณธรรมผู้นำสิบประการ




                      คำถามในการวิจัย


                            นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สามารถเรียนรู้คุณธรรมผู้นำ

                      สิบประการ ผ่านการรับฟังการบรรยายพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                      หรือไม่อย่างไร


                      คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย


                            คุณธรรมผู้นำสิบประการ หมายถึง หลักธรรมประจำตัวของผู้ซึ่งมีภาวะผู้นำสูง พึงมี

                      10 ประการ ดังต่อไปนี้คือ
                             1. ทาน                    คือ  การให้ การเสียสละ การให้น้ำใจ
                             2. ศีล                    คือ  ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา ใจ ให้ปราศจากโทษ

                             3. การบริจาค              คือ  การเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขส่วนรวม
                             4. ความซื่อตรง            คือ  ความซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้นำ ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต
                             5. ความอ่อนโยน            คือ  การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เคารพในเหตุผลที่ควร มีสัมมา

                                                            คารวะต่อผู้อาวุโส
                             6. ความเพียร              คือ ความอุตสาหะในการปฏิบัติงาน โดยปราศจากความ

                                                            เกียจคร้าน
                             7. ความไม่โกรธ            คือ ความไม่แสดงความโกรธ ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษ

                                                            ผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล
                             8. ความไม่เบียดเบียน      คือ การไม่ก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น
                             9. ความอดทน               คือ การรักษาอาการ กาย วาจา ใจให้เรียบร้อย การอดทน

                                ต่อสิ่งทั้งปวง                                                                           เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                            10. ความหนักแน่น เที่ยงธรรม คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก
   221   222   223   224   225   226   227   228   229   230   231