Page 225 - kpi15476
P. 225
224 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
พระราชวงศานุวงค์ และทูลข้าละอองธุลีพระบาท ตามฐานะที่ราชการฉลองพระเดชพระคุณ
รวมทั้งพระราชทานแก่ประชาชนผู้ยากไร้ได้อาศัยเลี้ยงชีวิต.
ธรรมะข้อ 4. อาชวะ หมายถึงทรงมีพระราชอัฌชาสัย อันประกอบด้วยความซื่อตรง ดำรง
ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อพระราชสัมพันธมิตรและพระราชวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง
ไม่ทรงคิดลวง ประทุษร้ายโดยอุบายผิดยุติธรรม.
ธรรมะข้อ 5. มัททวะ หมายถึง การที่พระองค์ทรงมีพระราชอัฌชาสัยอ่อนโยน ไม่ดื้อดึง
ถือพระองค์แม้มีผู้ตักเตือนในบางอย่าง ด้วยความมีเหตุผลก็จะทรงพิจารณาโดยถี่ถ้วน ถ้าถูกต้อง
ดีชอบก็ทรงอนุโมทนา และปฎิบัติตาม ทรงสัมมาคารวะอ่อนน้อมแก่ท่านผู้เจริญโดยวัยและ
โดยคุณ ไม่ทรงดูหมิ่น.
ธรรมะข้อ 6. ตบะ หมายถึง ความเพียร ทรงสมาทานกุศลวัตร ด้วยการเอาพระราชหฤทัยใส่
ในการปกครองพระราชอาณาเขต และประชาชนให้มีความสุขปราศจากภยันตราย ตลอดถึงการที่
ทรงมีพระอุตสาหะอันแรงกล้าในกุศลสมาทาน ระวังบาปที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
ธรรมะข้อ 7. อักโกธะ หมายถึง ความไม่โกรธ ทรงมีพระกริยาที่ไม่โกรธโดยวิสัย มิใช่เหตุ
ที่ควรโกรธ แม้มีเหตุที่ให้ทรงพระพิโรธ แต่ทรงข่มเสียให้อันตรธานสงบระงับไป ด้วยทรงมี
พระเมตตาอยู่เสมอ ไม่ทรงปรารถนาจะก่อภัย ก่อเวรแก่ผู้ใด.
ธรรมะข้อ 8. อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียน ด้วยทรงมีพระราชอัฌชาสัยกอปร
ด้วยพระราชกรุณา ไม่ทรงปรารถนาจะก่อทุกข์แก่ผู้ใด ไม่ทรงเบียดเบียนพระราชวงศ์ ข้าทูล
ละอองธุลีพระบาท และอาณาประชาราษฎร์ ให้ลำบากด้วยเหตุอันไม่ควรกระทำ.
ธรรมะข้อ 9. ขันติ หมายถึง ความอดทน ทรงมีพระราชหฤทัยดำรงมั่นในขันติ มีความ
อดทนต่อสิ่งที่ควรอดทน เช่น อดทนต่อทุกข์ อดทนต่อเวทนาอันเกิดขึ้นในพระกาย และทรงมี
พระขันติเมตตากรุณาธิคุณ งดโทษผู้มีความประมาท กระทำผิดล่วงพระอาญา และควรจะลง
ราชทัณฑ์ แต่ก็ทรงระงับด้วยความอดทนไว้ได้.
ธรรมะข้อ 10. อวิโรธนะ หมายถึง ความเที่ยงธรรม ทรงรักษาความยุติธรรมไม่ให้แปรผัน
จากสิ่งที่ตรง และดำรงพระอาการไม่ยินดี ยินร้าย ต่ออำนาจคติทั้งปวง หรืออีกนัยหนึ่ง คือความ
ไม่ประพฤติผิดในขัตติยราชประเพณี ทรงดำรงอยู่ในพระราชจริยาวัตรของพระมหากษัตริย์อย่าง
แท้จริง.
ดังนั้นการเรียนรู้คุณธรรมสิบประการในชั้นเรียนในที่นี้ จึงหมายถึงการที่นักเรียนนักศึกษา
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียน ความอดทน
มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถสรุปคิดวิเคราะห์ถึงคุณธรรมผู้นำสิบประการ อันได้แก่ ทาน ศีล
และความหนักแน่นเที่ยงธรรม จากการเรียนรู้การปฏิบัติในชั้นเรียน นอกจากนี้นักศึกษายังต้องมี
ความเชื่อ และตระหนักเห็นความสำคัญ ของคุณธรรมผู้นำสิบประการข้างต้นด้วย