Page 228 - kpi15476
P. 228

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   22


                      พื้นฐาน แล้วนำเสนอผลการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ โดยกำหนดช่วงของคะแนนค่าเฉลี่ย
                      (x) ของความคิดเห็น เพื่อใช้แปลความหมายข้อมูลไว้ 4 ระดับคือ สูง (4.01 ≤ x ≤ 5.00),

                      ค่อนข้างสูง (3.01 ≤ x ≤ 4.00), ปานกลาง (2.01 ≤ x ≤ 3.00) และ ต่ำ (1.00 ≤ x ≤ 2.00)


                      ผลการศึกษาวิจัย



                            การศึกษาเรื่อง การเรียนรู้คุณธรรมผู้นำสิบประการ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

                      พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผ่านการรับฟังการบรรยายพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จ
                      พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นำเสนอดังต่อไปนี้


                            1.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย


                            ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน มจธ. ซึ่งกำลังศึกษา
                      วิชามนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นวิชาในกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน

                      ทั้งหมด 85 คน เป็นเพศชาย 49 คน (58%) เพศหญิง 36 คน (42%) มีอายุ 16 ปี 18 ปี
                      72 คน (85%) มากกว่า 18 ปี 13 คน (15%) มีกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 จำนวน 70 คน
                      (82%) ชั้นปีที่ 2 จำนวน 15 คน (18%) เป็นนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ 47 คน

                      (55.3%) คณะวิทยาศาสตร์ 18 คน (21.2%) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ 12 คน (14.1%)
                      คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 8 คน (9.4%)


                            2.  ผลการวิเคราะห์สังเคราะห์เกี่ยวกับทศพิธราชธรรม หรือคุณธรรมผู้นำ สิบประการ
                      จากการรับฟังการบรรยายพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน

                      ชั้นเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)


                            ทศพิธราชธรรม หรือ                  พระราชกรณียกิจและเหตุการณ์ที่สอดคล้อง
                          คุณธรรมผู้นำสิบประการ

                       ธรรมะข้อ 1. ทาน             พระองค์ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนา
                       พระราชทานพัสดุสิ่งของแก่  ทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างพระไตรปิฎกฉบับล่องขาดและปิดทองขึ้น
                       ผู้สมควรได้รับ ได้แก่ พระภิกษุ และทรงพระราชทานเงิน ที่ดินและวัตถุในการก่อสร้างสุเหร่าในศาสนา
                       สงฆ์ และราษฎรผู้ยากไร้ เป็นต้น  อิสลาม และโบสถ์ในศาสนาคริสต์ ฯลฯ

                       ธรรมะข้อ 2. ศีล             พระองค์ทรงอยู่ในสมณเพศนานถึง 27 พรรษา และขณะที่ทรงผนวชนั้น
                       พระราชศรัทธาในบวรพุทธศาสนา พระราชกรณียกิจมากมายที่แสดงว่าทรงมีพระราชศรัทธาในบวรพุทธ
                       ทรงผนวช เพื่อทรงศึกษาและ ศาสนาเป็นอย่างยิ่ง อาทิ การริเริ่มวางระเบียบแบบแผนตั้งลัทธิ “นิกาย
                       ปฎิบัติพระธรรมวินัย         ธรรมยุติ”ให้ถือปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกตามพระวินัย เพื่อปฏิรูปพระพุทธศาสนา
                                                   ด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ส่งสมณทูตไปลังกาเพื่อรวบรวมหลักฐานทาง
                                                   พระพุทธศาสนามาซ่อมพระไตรปิฏกที่ขาดไปให้ครบบริบูรณ์ และยังทรง
                                                   เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงนำพระพุทธศาสนาเข้ามา

                                                   เกี่ยวข้องในพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งแต่เดิมใช้พิธีของพราหมณ์ ฯลฯ          เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   223   224   225   226   227   228   229   230   231   232   233