Page 224 - kpi15476
P. 224
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 223
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาการเรียนรู้คุณธรรมผู้นำสิบประการของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผ่านการรับฟังการบรรยายพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในชั้นเรียน วิชามนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต
กรอบแนวคิดทฤษฎีในการศึกษาวิจัย
การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การ
เรียนการสอน หรือการฝึกฝน (http://th.wikipedia.org/wiki/) ตามพจนานุกรม การเรียนรู้
หมายถึง การศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ (http://th.w3dictionary.org/) และ Ambrose
(2010) ได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ในชั้นเรียนไว้ ซึ่งหนึ่งในความหมายที่สำคัญดังกล่าวนั้น
คือ การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงของ ความรู้ ความเชื่อ และพฤติกรรม หรือทัศนคติ นั่นเอง
คุณธรรม (Virtue) คือ แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี ได้แก่ 1.) สภาพคุณงามความดี
ทางความประพฤติและจิตใจ 2.) คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท
หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของ
ผู้นั้น ทศพิธราชธรรม (Virtues of the King) หมายถึง จริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดิน
ทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง
ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน (จรวยพร ธรณินทร์, 2556:
http://www.charuaypontorranin.com/) จนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะ
เจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารในทุก
องค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้ (http://th.wikipedia.org/wiki) โดยทั้งนี้พจนานุกรมพุทธศาสตร์
ฉบับประมวลธรรมของพระเทพเวที (ประยุททธ์ ปยุตโต) ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับทศพิธราชธรรม
หรือคุณธรรม10ประการ (ทองต่อ กล้วยไม้ ณ อยุธยา,2556: http://guru.sanook.com/
encyclopedia/; http://www baanjomyut.com /library/ten_dharma.html) ดังนี้
ธรรมะข้อ 1. ทาน หมายถึง พระราชทานพัสดุสิ่งของ หรือปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
แก่ผู้สมควรได้รับ ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์ และราษฎรผู้ยากไร้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึง
การพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ แก่พระราชวงศานุวงค์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท
ตามสมควรแก่ฐานะ.
ธรรมะข้อ 2. ศีล หมายถึงการทรงศีล หรือการที่ทรงตั้งสังวรรักษาพระอาการ กาย วาจา
ให้สะอาดปราศจากโทษอันควรครหา การที่ทรงมีพระราชศรัทธาในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ได้เสด็จออกทรงผนวช เพื่อทรงศึกษาและปฎิบัติพระธรรมวินัย อุทิศพระราชกุศลพระราชทานแก่
ปวงชนชาวไทย.
ธรรมะข้อ 3. ปริจาคะ หมายถึงการที่ทรงการเสียสละความสุขส่วนพระองค์ เพื่อความสุข เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
ส่วนรวม รวมถึงการพระราชบริจาคไทยธรรม หรือสิ่งของที่พระราชทานให้เป็นประโยชน์ทั้งแก่