Page 227 - kpi15476
P. 227
22 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
การเรียนรู้คุณธรรมผู้นำสิบประการของนักศึกษา มจธ. หมายถึง การที่นักศึกษา มจธ.
มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถสรุปคิดวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมคุณธรรมผู้นำสิบประการ หลังจาก
การรับฟังการบรรยายพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในชั้นเรียนของ
วิชามนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิตแล้ว นักศึกษายังต้องมีความเชื่อความตระหนักรู้
เห็นถึงความสำคัญของคุณธรรมผู้นำสิบประการข้างต้นด้วย
ขอบเขตของการวิจัย
เป็นศึกษาในภาพรวมตามการรับรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มจธ. ที่กำลังศึกษาวิชา
มนุษย์กับหลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต ในปีการศึกษา 1/2555
ระเบียบวิธีวิจัย
ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยโดยการศึกษาเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ (Qualitative and
Quantitative Study) โดยมีการเลือกกรณีศึกษา เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive
Sampling)จากนักศึกษา มจธ. ที่ลงทะเบียนศึกษาในกลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป วิชามนุษย์กับ
หลักจริยศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิต ในปีการศึกษา 1/2555 จำนวน1,271 คน ซึ่งแบ่งเป็น30
กลุ่มย่อย ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษากลุ่มย่อย 2 กลุ่ม จำนวนทั้งหมด 85 คน โดยเป็นกลุ่มที่
ผู้วิจัยสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานของกลุ่มย่อยในฐานะของอาจารย์ที่ปรึกษา
ประจำกลุ่ม ซึ่งเป็นการใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วม และได้เข้าร่วมฟังการบรรยายฯ
ในห้องเรียนรวมด้วย ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการสังเกตทั้งแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม การ
สัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญๆ ของกลุ่ม การสนทนากลุ่มแบบเป็นทางการ และ
ไม่เป็นทางการ (formal and informal focus group discussion) ร่วมทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนิน
รายการ (moderator) ประชุมกลุ่มระดมสมองวิเคราะห์สังเคราะห์ประเด็นเกี่ยวกับพระราช-
กรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับทศพิธราชธรรม และเก็บข้อมูลเชิง
ปริมาณโดยใช้แบบสอบถามวัดระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความเชื่อความตระหนักรู้เห็นถึงความ
สำคัญของคุณธรรมผู้นำสิบประการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบความคิดในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ โดย
ทั้งนี้ได้นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 30 คนก่อนเพื่อหาค่าความเชื่อมั่น
(Reliability) โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (∞-Coefficient) ได้ค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น
.87
นอกจากนั้น ผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key-
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ตั้งใจของผู้บรรยายในหัวข้อนี้
Informant) คือ อาจารย์ผู้บรรยายหัวข้อเรื่องพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัว โดยมีประเด็นสำคัญในการสัมภาษณ์ เกี่ยวกับจุดประสงค์ ความคาดหวัง และความ
โดยทั้งนี้ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาเพื่อการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล ด้วยวิธีการ
วิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) การสรุปเชิงอุปนัย (induction) และการวิเคราะห์สถิติ