Page 244 - kpi15476
P. 244
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 243
ก็อาจมองได้ว่าการที่บุตรเป็นพยานกล่าวโทษความผิดของบิดานั้นไม่ใช่หนทางแก้ไขปัญหา
ความดีต่อบิดาต่างหากเป็นคุณธรรมความดีงามที่ชัดเจนมากในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
เพราะการฟ้องบิดาหรือเป็นพยานว่าบิดาทำผิดนั้นไม่อาจสรุปได้ว่าดีงามเท่ากับการปกปิดความผิด
ของบิดา ในเมื่อเรายังไม่แน่ใจว่าการกระทำนั้นมันดีงามหรือไม่ แล้วสิ่งที่ดีงามสูงสุดคืออะไร
แล้วเหตุใดจึงจะไม่ยึดถือสิ่งที่ผู้คนทั่วไปมองว่าเป็นสิ่งดีงามอีก ดังนั้นโดยสามัญสำนึกทาง
มโนธรรมจึงต้องมุ่งกระทำในสิ่งที่เป็นคุณธรรมที่ชัดเจนเสียก่อน จึงตีความปรัชญาขงจื่อได้ว่า
ความเป็นครอบครัวมีความชัดเจนจนต้องยึดถือไว้เป็นอย่างแรกสุดที่จะให้ความสำคัญเพราะอยู่กับ
เรามาโดยกำเนิด บุคคลจึงต้องทำหน้าที่ในฐานะครอบครัวที่เป็นหน่วยเล็กในสังคมให้ได้ดีก่อน
จึงจะทำหน้าที่ในหน่วยใหญ่ได้ดี หลักการใหญ่ของขงจื่อ คือ ความกตัญญูถือเป็นแก่นสำคัญสูงสุด
หลักอื่นจะขัดกับหลักคุณธรรมครอบครัวไม่ได้
ประเด็นที่สอง: เปรียบเทียบประเด็นการให้สัจจะวาจาในครอบครัวที่สัมพันธ์กับ
กฏเกณฑ์ ทางสังคม
ในที่นี้เป็นการตอบคำถามในประเด็นสำคัญอย่างการให้สัจจะวาจาในครอบครัวจะเกี่ยวโยง
หรือสัมพันธ์กันกับกฎเกณฑ์ทางสังคมซึ่งเป็นโครงสร้างใหญ่ได้อย่างไร ทั้งสองปรัชญาโดยรวมจะ
มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมของมนุษย์ ซึ่งสัจจะวาจาเป็นประเด็นหนึ่งที่สำคัญ
ต่อการอยู่ร่วมกัน โดยสัจจะในที่นี้จะหมายความถึงการพูดคำไหน ต้องทำตามนั้น จะแสดงถึงการ
พูดอะไรออกไปต้องรักษาข้อตกลงนั้น เพราะการทำตามข้อตกลงระหว่างกันจะทำให้เกิดการอยู่
ร่วมกันได้ การแก้ไขในการไม่ทำตามข้อตกลงคือการมีรัฐ รัฐจึงมีไว้เพื่อรักษาข้อตกลงร่วมกัน
หากมีการละเมิดก็มีสถาบันไว้ลงโทษผู้ละเมิดข้อตกลง ในปรัชญาฮินดูจะมีกษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจ
ในการลงโทษผู้ที่ละเมิดข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันเพื่อควบคุมให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ของสังคม และตัวกษัตริย์เองก็ต้องยึดถือความมีสัจจะเช่นกัน ดังตัวบทที่ว่า “สัจจะหรือความจริง
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดในราชธรรม พระราชาจะต้องมีสัจจะและจะต้องเคารพสัจจะเสมอ พระ
ราชาจะต้องไม่กระทำการใดๆ โดยปราศจากสัจจะ สัจจะจะนำความรุ่งเรืองมาสู่พระราชาเสมอ”
(กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย, 2550:212) ซึ่งทั้งสองปรัชญามีความเหมือนกันที่ไม่ได้มีข้อบังคับ
อันเกิดจากสถาบันเพียงอย่างเดียว ในปรัชญาฮินดูจะมีเรื่องความสำนึกในการทำบาปหรือการ
กระทำผิดภายในตนเอง ส่วนปรัชญาขงจื่อจะมีเรื่องวิธีการอบรมสั่งสอน มุ่งเน้นการสร้างแรง
กดดันจากสังคม ทำตัวแบบนี้สังคมไม่ยอมรับ เน้นการทำให้คนเกิดความละอายต่อการกระทำผิด
ด้วยจะได้ไม่ต้องลงโทษรุนแรงด้วยรัฐหรือกฎหมายเพียงอย่างเดียว แต่จะแตกต่างกันที่ในปรัชญา
ขงจื่อ การสร้างความละอายต่อการกระทำผิดต้องมาจากรากฐานความสัมพันธ์ในครอบครัว
ที่บ่มเพาะจริยธรรมของบุคคล ส่วนปรัชญาฮินดูนั้นเป็นความเชื่อที่อิงกับหลักการทางศาสนาใน
ระบบการล้างบาป (Penance) ที่ทำหน้าที่สอดประสานกับระบบกฎหมายดังปรากฏใน
มานวธรรมศาสตร์ แม้ว่าผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษตามกฎหมาย แต่บาปก็ไม่ถูกกำจัดให้หมดสิ้น
ไปได้ ชาติหน้ายังต้องได้รับผลจากบาปนั้นอยู่ จึงต้องมีการล้างบาปด้วยตนเอง (สำนึกบาป)
เพื่อให้บาปไม่ติดตัวไปชาติหน้า จากจุดนี้จึงสะท้อนได้ว่ากฎหมายไม่ได้มีหน้าที่อย่างอื่นนอกเหนือ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
จากการลงโทษที่ทำให้คนกลัวเท่านั้น