Page 263 - kpi15476
P. 263

2 2     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  อาจถูกยกเลิกได้ แต่จะมาตั้งขึ้นจากการไม่มีอยู่เป็นสิ่งที่ทำยากและใช้เวลาหลายร้อยปี ... ถ้า
                  ประเทศใดตัดสินใจเปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไปสู่

                  ประชาธิปไตยแบบอื่น ต้องคิดให้ดีเพราะจะเปลี่ยนกลับยาก”

                       เรื่องนี้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของโจฮัน กาลตุง  เมื่อเขากล่าวถึงข้อตกลงที่ยุติความขัด
                                                                      13
                  แย้งรุนแรงว่า “เราพึงเรียกร้องให้ข้อตกลงที่ดีมีทางย้อนกลับได้ คือที่ทำไปแล้วทำใหม่ได้ จงทำแต่
                  เฉพาะสิ่งที่คุณทำใหม่ได้”



                  ความไม่กลมกลืนระหว่างราชาธิปไตยกับประชาธิปไตย



                       ราชาธิปไตยในนครรัฐสยามได้เปลี่ยนอุดมการณ์จากปิตุราชาในสมัยสุโขทัย มาเป็น
                  เทวราชาในสมัยอยุธยา และเป็นธรรมราชาตามหลักพุทธธรรมในสมัยต้นรัตนโกสินทร์  ครั้นเมื่อ
                                                                                                 14
                  ปฏิรูปการปกครอง โดยสร้างรัฐ-ประชาชาติที่องค์ประมุขแผ่พระราชอำนาจไปได้ทั่วราชอาณาจักร
                  ก็มีการเปลี่ยนสู่ธรรมราชาตามหลักนิติธรรมมากขึ้นตามลำดับ จนเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                  จึงยึดมีนิติธรรมเป็นหลัก โดยราชาธิบดีอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระราชอำนาจแต่เดิมมิได้ตราเป็น

                                                                             15
                  พระราชบัญญัติเสมอไป หากเป็นอำนาจจริงในทางปฏิบัติ ธโสธร  จำแนกฐานอำนาจที่สำคัญของ
                  ระบอบราชาธิปไตยเดิมว่ามาจาก 1) ราชวงศ์และเครือญาติ 2) ขุนนาง ข้าราชการ 3) จารีต

                  ประเพณี 4) การยอมรัฐจากต่างประเทศ 5) การครอบครองทรัพย์สินเกือบทุกอย่างในแผ่นดิน
                  6) การพึ่งพาและอุปถัมภ์ศาสนา 7) บุคลิกภาพจากพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตร


                       พระราชอำนาจเหล่านี้ก่อให้เกิดและผสมผสานกับความคิดทางการเมืองของชาวสยามหรือ
                  ชาวไทยซึ่งวิทยา  ได้เสนอว่าชาวสยามหรือชาวไทยมีความคิดทางการเมืองดังนี้
                                 16

                        1) ถือพุทธศาสนาเป็นรากฐานอันสำคัญของความคิดทางการเมือง


                        2) เชื่อในเรื่องอำนาจ “แต่ไม่ยอมรับหลักการประชาธิปไตยมาตั้งแต่เบื้องต้นคือเรื่อง
                           การแบ่งแยกอำนาจ ... และยังมีมาตรการต่างๆ อีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม องค์กร

                           โดยเฉพาะกองทัพ ตลอดจนองค์กรจัดตั้งต่าง  เพื่อการเสริมอำนาจ” อย่างไรก็ดี
                           “อำนาจในสังคมไทยนั้นมีสิ่งยับยั้ง (constraint) อยู่ ซึ่งพอกล่าวได้ว่ามี 2 ประเภท

                           ใหญ่ๆ คือ (1) ในแง่ของศีลธรรม (moral) กับ (2) ในแง่ของความระมัดระวัง
                           (prudential)” ดังนั้น คนไทยจึงพอยอมรับเผด็จการแบบอ่อนๆ ได้


                     13
                      วิชาการรัฐศาสตร์เนื่องในโอกาสครบรอบ 33 ปี มสธ. ครบรอบ 29 ปีรัฐศาสตร์, นนทบุรี, มสธ., น. 145-168
                        Galtung Johan; อ้างถึงแล้ว น. 181
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย      15    วิทยา สุจริตธนารักษ์, 2530; ลักษณะเด่นของความคิดทางการเมืองของไทย: ข้อสังเกตเบื้องต้น;
                        ชรินทร์ สันประเสริฐ, 2552: รัฐไทยในอดีตจากปิตุราชา-เทวราชา สู่การสร้างรัฐพุทธธรรม; รวมบทความ
                    14
                       ธโสธร ตู้ทองคำ, 2552; ระบอบราชาธิปไตยและรัฐจารีตในการเมืองการปกครองไทย; รวมบทความ
                  วิชาการรัฐศาสตร์เนื่องในโอกาสครบรอบ 33 ปี มสธ. ครบรอบ 29 ปีรัฐศาสตร์, นนทบุรี, มสธ., น. 169-180

                    16
                  รัฐศาสตร์สารฉบับพิเศษครบรอบ 12 ปี: ปรัชญาและความคิด ธเนศ วงศ์ยานนาวา บรรณาธิการ; กรุงเทพฯ

                  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, น. 215-227
   258   259   260   261   262   263   264   265   266   267   268