Page 307 - kpi15476
P. 307
30 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
รัฐธรรมนูญหรือประธานศาลฎีกา หรือประธานศาลปกครอง หรือประธาน
ศาลทหาร ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากสภาอภิรัฐมนตรีด้วยคะแนนเสียงข้างมาก
เด็ดขาด (Absolute Majority) ของสมาชิกอภิรัฐมนตรี โดยมีประธาน
องคมนตรี (President of the Privy Council) เป็นผู้รับสนองพระบรม
ราชโองการแต่งตั้งประธานศาลยุติธรรมสูงสุด รวมกับองค์คณะผู้พิพากษา/
ตุลาการอีก 12 คน ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของศาล
รัฐธรรมนูญ 3 คน ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา 3 คน ที่ประชุมใหญ่ของ
ศาลปกครอง 3 คน และที่ประชุมใหญ่ของศาลทหาร 3 คน โดยมี
ประธานศาลยุติธรรมสูงสุดเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโอการแต่งตั้งเป็น
องค์คณะของศาลยุติธรรมสูงสุด
ศาลยุติธรรมสูงสุด (The Supreme Court of Justice) มีอำนาจหน้าที่
พิจารณาพิพากษาคดีอาญาแผ่นดินร้ายแรงและไม่มีอายุความ ซึ่งเป็นการ
กระทำความผิดร้ายแรงของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของ
รัฐระดับสูง ได้แก่ การกระทำอันเป็นการทรยศต่อชาติและความมั่นคง
แห่งชาติ คดีการทุจริตประพฤติมิชอบในการเลือกตั้งและการซื้อสิทธิ
ขายเสียงเลือกตั้ง คดีการทุจริตประพฤติมิชอบและการซื้อขายตำแหน่ง
เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งคดีทุจริตคอร์รัปชั่นอื่นและการกระทำที่ก่อให้เกิด
ความเสียหายต่อรัฐอย่างร้ายแรง ซึ่งได้รับอุทธรณ์จากศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลฎีกา ศาลปกครอง หรือศาลทหาร รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการปกครองโดยนิติรัฐตาม
หลักนิติธรรม ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสรร/การเลือกตั้ง/การ
แต่งตั้ง อำนาจหน้าที่และวิธีพิจารณาความของศาลยุติธรรมสูงสุด รวมทั้ง
คณะกรรมการศาลยุติธรรมสูงสุดและสำนักงานศาลยุติธรรมสูงสุดเป็น
หน่วยงานธุรการของศาลที่เป็นอิสระให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(2) ศาลรัฐธรรมนูญ (The Constitutional Court) ประกอบด้วย ประธาน
ศาลรัฐธรรมนูญ (President of the Constitutional Court) คนหนึ่งกับ
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 8 คนที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจาก
ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของสภาอภิรัฐมนตรี โดยมี
ประธานสภาองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโอการแต่งตั้ง ทั้งนี้
หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกสรร/การแต่งตั้ง อำนาจหน้าที่และวิธีพิจารณา
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย (3) ศาลยุติธรรม (The Courts of Justice) ประกอบด้วยศาลแพ่ง
ความ รวมทั้งคณะกรรมการตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานศาล
รัฐธรรมนูญเป็นหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญนี้
ศาลอาญา และศาลชำนัญพิเศษด้านต่างๆ ซึ่งแต่ละศาลมีสามชั้นคือ