Page 305 - kpi15476
P. 305

304     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                                   (2) สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้แทนของประชาชน ติดต่อกันได้เพียง 2 วาระๆ
                                       ละ 5 ปี จำนวน 450 คน (หากจะสมัครเป็นผู้แทนเกิน 2 วาระจะต้อง

                                       เว้นวรรคไปก่อน 5 ปี) ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงจากผู้สมัคร
                                       รับเลือกตั้งที่สังกัดหรือไม่สังกัดพรรคการเมืองก็ได้ และให้ใช้จังหวัดเป็น
                                       เขตเลือกตั้ง จำนวนผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดขึ้นอยู่กับจำนวน

                                       ประชากรของจังหวัดนั้นๆ ผู้สมัครที่จะชนะการเลือกตั้งจะต้องได้คะแนน
                                       เสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute Majority) กล่าวคือ เกินกึ่งหนึ่งของ

                                       ประชาชนที่มาลงคะแนนสียงเลือกตั้ง ผู้สมัครในลำดับที่ไม่รับคะแนนสียง
                                       ข้างมากเด็ดขาดให้มาลงแข่งขันเลือกตั้งในรอบที่สองจนครบจำนวนผู้แทน
                                       ราษฎรของจังหวัดนั้น (หมายเหตุ: โดยยกเลิกระบบ Party Lists)


                                    ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (President of the National Assembly)

                                    เป็นหัวหน้าอำนาจนิติบัญญัติ (Head of Legislative Power) ที่ได้รับเลือกตั้ง
                                    มาจากประธานวุฒิสภา (President of the Senate) หรือประธานสภาผู้แทน
                                    ราษฎร (President of the House of Representatives) ในที่ประชุมร่วมกัน

                                    ของสองสภาด้วยคะแนนเสียงข้างมากของผู้เข้าร่วมประชุม หากผู้ได้รับ
                                    เลือกตั้งเป็นประธานสภาใดที่สังกัดพรรคการเมืองต้องลาออกจากการเป็น

                                    สมาชิกพรรคการเมืองเพื่อความเป็นกลางและความเป็นอิสระในการปฏิบัติ
                                    หน้าที่ประธานสภา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งประธานและรองประธานของ
                                    สภาทั้งสาม โดยมีประธานสภาองคมนตรี (President of the Privy

                                    Council) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง

                              3.3)   รัฐบาล (The Government) ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี (The Prime
                                    Minister) เป็นหัวหน้าอำนาจบริหาร (Head of Executive Power) ที่เลือกตั้ง

                                    โดยตรงมาจากประชาชน (Direct Election) ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
                                    โดยมีประธานสภาองคมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ นายก-

                                    รัฐมนตรีเป็นผู้เลือกสรรรัฐมนตรีจากบุคคลที่มิได้เป็นสมาชิกสังกัด
                                    พรรคการเมือง หรือเป็นสมาชิกสภาอภิรัฐมนตรี วุฒิสภา และสภาผู้แทน
                                    ราษฎร รวมกันเป็นคณะรัฐมนตรีจำนวนไม่เกิน 35 คน ซึ่งอาจถูกสมาชิก

                                    รัฐสภาทั้งสองที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเข้าชื่อยื่นถอดถอน
                                    (Impeachment) หรือยื่นญัตติอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี

                                    และ/หรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจบริหาร
                                    ของรัฐบาลได้ แต่ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีพ่ายแพ้การลงมติไม่ไว้วางใจ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย      (1)  นายกรัฐมนตรี เป็นคนกลางคือผู้สมัครรับเลือกตั้งอิสระโดยไม่สังกัด
                                    โดยรัฐสภา นายกรัฐมนตรีก็ย่อมมีอำนาจตัดสินใจยุบสภาหรือลาออกเพื่อให้มี

                                    การเลือกตั้งใหม่ก็ได้



                                       พรรคการเมือง ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน (Direct

                                       Election) และจะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีติดต่อกันได้เพียง
   300   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310