Page 303 - kpi15476
P. 303

302     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                               จากแผนภูมิที่ 2 ข้างต้น สถาบันการเมืองถือกำเนิดจากสถาบันแห่งชาติ (National
                               Institution) คือ ชาติ (Nation) ศาสนา (Religion) และพระมหากษัตริย์

                               (Monarchy) ซึ่งเป็นที่มาของอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) โดยประเทศไทยเป็น
                               ประชารัฐที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                               และอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย (ประชาธิปไตย-Democracy) ร่วมกับ

                               พระมหากษัตริย์ (ราชาธิปไตย-Royal Sovereignty) ตามหลักราชประชาสมาศัย
                               โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งประธานสภาอภิรัฐมนตรีและประธาน

                               ศาลยุติธรรมสูงสุด (โดยอ้อม) ส่วนประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สมาชิก
                               วุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) และนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล
                               นั้นมาจากการเลือกตั้ง (โดยตรง) รวมทั้งให้มีการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น

                               โดยระบบเทศบาลตามหลักประชาภิบาล (People Governance) ทั้งนี้ โดยต้อง
                               เป็นไปตามหลักธรรมาธิปไตย (Dharmacracy)


                               พระมหากษัตริย์ทรงเป็นธรรมราชาที่ปกเกล้าปวงชนชาวไทยในระบอบ
                               ประชาธิปไตยตามหลักราชาภิบาล (Royal Governance หรือ The King reigns,

                               not rules) และหลักทศพิธราชธรรม โดยทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัคร
                               ศาสนูปถัมภกทุกศาสนา ซึ่งพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นถือเป็นบ่อเกิดของ

                               ธรรมาธิปไตย (Dharmacracy) และหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) เพื่อ
                               ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยนิติรัฐ ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของ
                               สภาอภิรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร) รัฐบาล

                               (นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) และศาลทุกศาล รวมทั้งองค์กรตาม
                               รัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม (The Rule of

                               Law)

                               3.1)  สภาอภิรัฐมนตรี (The Supreme Council of State) เป็นสภาการ

                                    แผ่นดินสูงสุดแห่งรัฐ โดยถือเป็นสถาบันการเมืองสูงสุดที่ใช้อำนาจรัฎฐาภิบาล
                                    (Sovereign Governance) ในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจนิติบัญญัติ

                                    อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญและระบอบ
                                    ประชาธิปไตยภายใต้การปกครองโดยนิติรัฐตามหลักนิติธรรม ซึ่งพระมหา-
                                    กษัตริย์ทรงแต่งตั้งสมาชิกสภาอภิรัฐมนตรีจำนวนทั้งสิ้น 45 คนที่มาจากการ

                                    เลือกตั้งทางอ้อม ซึ่งเป็นผู้แทนโดยตำแหน่งจากผู้แทนอำนาจนิติบัญญัติ
                                    อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และอำนาจรัฏฐาภิบาลจากองค์กรตาม
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น รวมทั้งสิ้น 22 คน ประกอบด้วย ผู้ตรวจราชการ
                                    รัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและ/หรือโดยอ้อมจากประชาชน
                                    รวมทั้งสิ้น 23 คน และผู้แทนโดยตำแหน่งจากการบริหารราชการแผ่นดิน



                                    แผ่นดินภูมิภาค (Regional Administration Inspectors) จำนวน 7 คน และ
                                    ผู้ว่าราชการมณฑลเทศาภิบาล (Governors of Provincial Municipality)

                                    อีกจำนวน 15 คนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
   298   299   300   301   302   303   304   305   306   307   308