Page 341 - kpi15476
P. 341

340     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15

                     ระบบราชการไทยกับธรรมาภิบาลแบบมุ่งเน้นไปที่ผลผลิตและมิติด้าน

                       ประสิทธิภาพ


                       การพิจารณาถึงแนวโน้มหรือข้อจำกัดของการประยุกต์เอาหลักธรรมาภิบาลมาใช้กับระบบ
                  ราชการไทยนั้น เราควรเริ่มต้นพิจารณาจากหลักคิดหรือแนวทางการนำเอาหลักธรรมาภิบาล

                  ไปปรับใช้กับระบบราชการไทยก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งจากหลักธรรมาภิบาลที่เราได้อภิปราย
                  ในส่วนที่แล้วทำให้เราเห็นได้ชัดเจนว่าองค์ประกอบและสาระสำคัญของหลักธรรมาภิบาลนั้น

                  มีกว้างขวางและหลากหลายองค์ประกอบทั้งในมิติเชิงประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ความโปร่งใส
                  ตรวจสอบได้ การยึดมั่นในระเบียบและกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมถึงบทบาทของภาคประชาชนในการ
                  เข้าไปมีส่วนร่วม นอกจากนั้น การนำเอาหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ หากได้มีการดำเนินการ

                  อย่างจริงจังแล้ว ก็ย่อมจะส่งผลกระทบในมิติต่างๆ อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม หากเราลอง
                  ย้อนมามองถึงความพยายามในการปรับตัวของระบบราชการไทยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับตั้ง

                  แต่ปี พ.ศ. 2540 เราก็จะสังเกตเห็นได้ว่าการปรับตัวของระบบราชการไทย ที่แม้จะอ้างอิงว่า
                  เป็นการปรับปรุงหรือปฏิรูปภายใต้กรอบธรรมาภิบาลก็ตาม แต่ทว่าในที่สุดแล้วเราก็จะเห็นได้ว่า
                  ในเชิงหลักคิดของการดำเนินการกลับไปอยู่ที่การให้ความสำคัญกับผลผลิตมากว่าเนื้อหาและ

                  ผลกระทบของกระบวนการ กับทั้งยังเน้นไปที่มิติด้านประสิทธิภาพของตัวระบบราชการมากกว่า
                  ประเด็นองค์ประกอบอื่นๆ ที่ธรรมาภิบาลกล่าวถึง (Bidhya Bowornwathana 2000 : 399-402)


                       ต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น พิทยา บวรวัฒนา ได้ให้ความเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์เอาไว้
                  อย่างน่าสนใจว่า หากเราลองมองถึงกระบวนการในการปฏิรูประบบราชการไทยที่เกิดขึ้น เราจะ

                  เห็นถึงกระบวนการของการปฏิรูประบบราชการที่รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างมุ่งมั่นให้
                  ความสำคัญกับผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปราชการมากกว่าที่จะมองถึงผลลัพธ์หรือผลกระทบ
                  ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ในการปฏิรูประบบราชการ รัฐบาลมักให้ความสำคัญกับการจัดทำแผน

                  แม่บทของการปฏิรูประบบราชการ มติคณะรัฐมนตรี คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งระเบียบ
                  และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การผลักดันกฎหมายต่างๆให้ผ่านรัฐสภา การจัดตั้งหน่วยงาน

                  เฉพาะขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบการปฏิรูประบบราชการ การจัดประชุมและสัมมนาในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
                  ฯลฯ โดยที่รัฐบาลกลับให้ความสนใจถึงประเด็นเกี่ยวกับผลลัพธ์หรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา
                  จากการปฏิรูประบบราชการน้อยมาก ซึ่งผลลัพธ์เหล่านั้นล้วนเกี่ยวข้องกับคำถามที่สำคัญ เช่น

                  ใครจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หรือต้องได้รับผลกระทบจากการปฏิรูประบบราชการที่ได้มีการดำเนิน
                  การ การปฏิรูประบบราชการจะก่อให้เกิดปัญหาอะไรใหม่ๆหรือผลลัพธ์ที่ไม่ได้คาดหวังติดตามมา

                  หรือไม่ เป็นต้น (Bidhya Bowornwathana 2000 : 399)


                       นอกจากนั้น หากพิจารณาในเชิงหลักคิดของการดำเนินการเพื่อการปฏิรูประบบราชการแล้ว
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   “หลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (NPM)” ที่มุ่งให้ความสำคัญกับประเด็นทางด้านประสิทธิภาพ
                  ยังจะเห็นด้วยว่าหลักคิดประกอบแนวทางการปฏิรูประบบราชการของไทยที่ผ่านมานั้น มักอ้างอิง



                  ของระบบราชการ รวมถึงเครื่องมือทางการบริหารจัดการต่างๆ ค่อนข้างมาก ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริง
                  แล้วการปฏิรูประบบราชการยังควรต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบที่สำคัญอื่นๆ ของหลัก

                  ธรรมาภิบาลด้วย ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบ ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล
   336   337   338   339   340   341   342   343   344   345   346