Page 343 - kpi15476
P. 343
342 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
หนึ่งในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความเป็นเอกภาพให้กับฝ่ายการเมืองที่เป็นรัฐบาล เพราะ
ฉะนั้น เราจึงสามารถสังเกตเห็นได้ว่านับตั้งแต่การบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ฝ่ายการเมืองที่เป็นรัฐบาลได้ทวีบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นทั้งในทาง
การเมืองและการบริหาร ซึ่งปรากฏการณ์ข้างต้นได้ทำให้ดุลความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองที่
เป็นรัฐบาลกับข้าราชการประจำเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด
ความเปลี่ยนแปลงในแง่ดุลของอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองที่เป็นรัฐบาลกับข้าราชการ
ประจำอาจเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในช่วงรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ทั้งนี้สืบเนื่องจาก
การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ที่มีส่วนในการเสริมความเข้มแข็งให้กับ
รัฐบาลประกอบเข้ากับการที่พรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้รับชัยชนะอย่าง
ถล่มทลายในการเลือกตั้งเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2544 และสามารถเป็นแกนนำในการจัดตั้ง
รัฐบาลที่ครองเสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภาได้ ทำให้รัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ สามารถ
เริ่มต้นกดดันให้ข้าราชการกลุ่มที่มีความคิดเห็นแตกต่าง หรือไม่สนองนโยบายของรัฐบาลลาออก
จากตำแหน่ง หรืออาจโยกย้ายไปดำรงตำแหน่งที่มีความสำคัญน้อยลง นอกจากนั้น รัฐบาลของ
พ.ต.ท. ทักษิณ ยังได้เริ่มต้นนำเอาแนวทางการบริหารงานแบบ “CEO” ซึ่งเป็นรูปแบบการบริหาร
งานแบบภาคธุรกิจมาใช้กับการบริหารงานภาครัฐซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่สามารถยอมรับกับ
ความชักช้าของการบริหารงานตามระบบราชการแบบเดิมๆ และในที่สุด พ.ต.ท. ทักษิณ
ก็สามารถผลักดันให้เกิดกระบวนการปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ได้สำเร็จ ซึ่งการปฏิรูประบบ
ราชการในครั้งนี้เองที่สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นความพยายามในการปรับเปลี่ยนดุลทางอำนาจ
ระหว่างฝ่ายการเมืองที่เป็นรัฐบาลและระบบราชการครั้งสำคัญ (Painter 2004 : 378)
อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนดุลทางอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองที่เป็นรัฐบาลและระบบ
ราชการในครั้งนี้ จะไม่ได้เป็นปัญหาอะไรเลย หากว่าการปรับเปลี่ยนดุลความสัมพันธ์ทางอำนาจนี้
มีส่วนช่วยทำให้กลไกระบบราชการนั้นมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และสนองตอบต่อความต้องการ
ของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น แต่ทว่า การปฏิรูประบบราชการในครั้งนี้กลับดูเหมือนว่าจะมิได้ช่วย
ทำให้กลไกระบบราชการมีระดับความเป็นธรรมาภิบาลที่เพิ่มมากขึ้น ดังที่ Martin Painter
ได้วิพากษ์การปฏิรูประบบราชการในช่วงรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ เอาไว้อย่างน่าสนใจว่าถ้าเรา
มองการปฏิรูปกลไกระบบราชการในปี พ.ศ. 2545 ในมิติด้านการปรับปรุงโครงสร้างของระบบ
แม้ว่ารัฐบาลจะอ้างว่าการปฏิรูประบบราชการในครั้งนี้ จะมีเป้าหมายเพื่อลดขนาดของระบบ
ราชการให้เล็กลงก็ตาม แต่เรากลับพบว่าผลลัพธ์ของความพยายามลดขนาดนั้น กลับกลาย
เป็นการเพิ่มขึ้นของจำนวนส่วนราชการ จากเดิมก่อนการปฏิรูประบบราชการที่เรามีส่วนราชการ
14 กระทรวง กับอีก 126 กรม แต่ภายหลังการปฏิรูปเรากลับมีกระทรวงเพิ่มขึ้นเป็น
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ประชาชนของตัวระบบราชการเองแล้ว ก็เกิดคำถามสำคัญที่ว่าแล้วการปฏิรูประบบราชการในครั้งนี้
20 กระทรวง และกรมเพิ่มขึ้นเป็น 143 กรม (Painter 2006 : 39) ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้
ย่อมเป็นการสวนทางกับหลักประสิทธิภาพ
ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาในมิติด้านความสามารถในการสนองตอบต่อความต้องการของ
มีส่วนในการทำให้ระบบราชการสามารถสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน