Page 382 - kpi15476
P. 382
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 3 1
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น กรุงปารีสกลับรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากไม่ได้ถูก
เยอรมันเข้ายึดครอง หรือทำลาย อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่ทหารพันธมิตรจัดสวนสนามฉลองชัยชนะ
ที่ชองป์เซลีเซและจัดประชุมลงนามในสัญญาสันติภาพที่พระราชวังแวร์ซายล์และที่พระราชวัง
สำคัญอื่นๆ อีก จึงมีผู้นำทางการเมืองการทหารจากทั่วโลกมาชุมนุมกันที่ปารีสนี่เป็นระยะเวลา
นาน ในด้านศิลปวัฒนธรรมปารีสก็เบ่งบานขึ้นทันที มีศิลปิน นักเขียน นักดนตรีจากประเทศ
ต่างๆในยุโรปและอเมริกา มาอาศัยอยู่และแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เมืองเล็กๆในฝรั่งเศสขยายตัว
และมีการสร้างถนนและรถใต้ดินในด้านสถาบันทหารของฝรั่งเศสก็มีความเข้มแข็งมีชื่อเสียงขึ้นมา
เนื่องจากเป็นฝ่ายชนะสงคราม มีการเปิดหลักสูตรนายทหารระดับสูงมีนายทหารนานาชาติมาเข้า
ศึกษาด้วย
หลังทรงจบการศึกษาหลักสูตรนายทหารชั้นสูงที่ฝรั่งเศสแล้ว ก็เสด็จกลับประเทศไทย ในปี
พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) ทรงเข้ารับราชการอีกครั้ง โดยต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า-
เจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก และเลื่อน
พระยศขึ้นเป็นนายพันเอกผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหาร
ปืนใหญ่ที่ 2 ในคราวเดียวกัน ในช่วงนั้นพระเชษฐาร่วมพระมารดาซึ่งอยู่ในสายสืบสันตติวงศ์
โดยตรงต่างทรงประชวรและสิ้นพระชนม์ไปโดยลำดับ ทำให้สมเด็จพระปกเกล้าต้องทรงรับ
ราชการสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทดแทนมากขึ้น พระองค์ทรงได้รับมอบ
หมายให้ปฏิบัติราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในบางโอกาส ด้วยพระวิริยะอุตสาหะ
ของพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระบรมราชโองการให้เลื่อนกรมขึ้น
เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1923)ก่อนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตเพียง
ไม่กี่วัน
2.8. เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในจีน
ในเอเชียโดยเฉพาะจีนก็มีความผันผวนมากมายมาตลอด เพราะจีนได้พยายามจะปลด
ปล่อยตัวเองจากอิทธิพลและการครอบครองของยุโรปและญี่ปุ่น จนเกิดกบฏนักมวย (Boxer
Rebellion) ขึ้นต้นศตวรรษที่20 จากนั้นมาก็ยังมีการปฏิวัติปี ค.ศ. 1911 โค่นล้มราชวงศ์แมนจู
และขับไล่ชาวตะวันตก ได้เกิดมีกลุ่มรักชาติก๊กมินตั๋ง (Kuomintang) นำโดย ซุน ยัต เซ็น (Sun
Yat-sen, 1866 - 1925) และกลุ่มคนหนุ่มหัวก้าวหน้าที่ศึกษาดูงานมาจากตะวันตก ซึ่งต้องการ
การปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ก็มีกลุ่มหัวเก่าที่คัดค้านไม่เห็นด้วย ในที่สุดพรรคของซุน ยัต เซ็น
ก็พ่ายแพ้ในปี 1914 จึงไม่สามารถตั้งรัฐบาลใต้ระบอบรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ ในปี 1915 ญี่ปุ่นได้
รุกรานจีนและยื่นข้อเรียกร้อง 21 ข้อให้รัฐบาลจีน ทำให้จีนต้องเลือกประกาศสงครามกับฝ่าย
อำนาจกลางของเยอรมันเพื่ออย่างน้อยก็จะได้มีอังกฤษและฝรั่งเศสคุ้มครองจากการรุกรานของ
ญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นจึงต้องลงนามในสัญญาให้จีนมีเอกราช ทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจ
ในอิทธิพลของฝ่ายพันธมิตรอยู่ แต่จีนนั้นก็ยังมีปัญหาระหว่างก๊กมินตั๋ง ซึ่งหลังจากซุนยัดเซ็นตาย
ลงก็ตกอยู่ใต้การนำของเจียง ไค เช็ค (1887 - 1975) และต้องต่อสู้กับพวกคอมมิวนิสต์และ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
ญี่ปุ่นต่อเนื่องอีก ในช่วงต้นทศวรรษ 1920 ขบวนการคอมมิวนิสต์จีนแนวโซเวียตก่อตัวขึ้นเป็น