Page 412 - kpi15476
P. 412
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 411
ความมั่นคงของแผ่นดิน เนื่องจากพระองค์เองก็ได้ทรงมีพระราชดำริในเรื่องการ
เปลี่ยนแปลงการปกครองอยู่ก่อนแล้วเช่นกัน และทรงแจ้งด้วยว่าพระองค์เองก็ไม่ได้มี
ความทะเยอทะยานอันใดมากกว่าทรงอยากเห็นความเจริญก้าวหน้าของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ทรงปฏิเสธที่จะเสด็จกลับพร้อมเรือรบที่คณะผู้ก่อการส่งมาแต่จะเสด็จ
กลับโดยรถไฟพระที่นั่งของพระองค์ การแสดงออกด้วยขันติธรรมดังกล่าวทำให้คณะ
ผู้ก่อการขอเข้าเฝ้าและขอพระราชทานอภัยโทษที่ได้กระทำการจาบจ้วงและแถลงการณ์
ให้ร้ายต่อราชวงศ์ด้วย ทรงขอให้ปล่อยพระบรมวงศานุวงศ์จากที่คุมขังและให้เจ้านาย
ที่ทรงมีอิทธิพลทางทหารและพลเรือนเสด็จไปอยู่ต่างประเทศ
หลังจากที่ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้ว พระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงดำเนินการเจรจาโต้ตอบด้วยหลักขันติธรรมกับคณะผู้ก่อการและ
รัฐบาลในประเด็นต่างๆเกี่ยวกับพระราชอำนาจและศักดิ์ศรีของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ที่ร่างขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับถาวรโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎรที่คณะ
ผู้ก่อการแต่งตั้งขึ้น โดยการเจรจาโต้ตอบกันไปมานั้นใช้เวลาเกือบ 6 เดือน จนในที่สุดก็มี
รัฐธรรมที่ทั้งสองฝ่ายเห็นต้องกันได้ จึงได้มีการจัดพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญขึ้น
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1932
อย่างไรก็ตาม ตลอดปี ค.ศ. 1933 ก็ยังมีความแตกอย่างกันในทางความคิดหลายประเด็น
ระหว่างบุคคลในคณะผู้ก่อการและคณะรัฐบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ
ไม่นานก็นำไปสู่การยึดอำนาจรัฐประหารเป็นครั้งที่สองและปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีใหม่ ความ
สับสนในแนวนโยบายการปกครองแบบใหม่ยังมีอยู่ต่อไป จนกระทั่งเกิดกบฏพระองค์เจ้าบวรเดช
ขึ้นในเดือนตุลาคม 1933โดยเริ่มมาจากจังหวัดนครราชสีมา และไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่ง
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเข้าไปเกี่ยวข้องสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้เสด็จลงเรือไปประทับที่
สงขลาอยู่สองเดือน และทรงประกาศภายหลังว่าไม่ทรงสนับสนุนการก่อการรุนแรงจนเสียเลือดเนื้อ
และหลังจากนั้น พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ยังทรงอดทน ทรงเขียนบันทึกแสดงความคิดเห็น
และยืนยันในประเด็นที่ทรงเห็นว่ามีความสำคัญมากในระบอบการปกครองใหม่ ที่พึงมีความสมดุล
ระหว่างความรับผิดชอบกับอำนาจหน้าที่ อย่างไรก็ดี ฝ่ายรัฐบาลก็ไม่ตอบรับข้อเสนอแนะและ
ความคิดเห็นของพระองค์ ซึ่งรายละเอียดในเรื่องนี้มีนักวิชาการหลายท่านทั้งไทยและต่างประเทศ
ศึกษาและวิเคราะห์ไว้แล้ว แต่ประเด็นที่ควรเน้นไว้ในที่นี้ก็คือ ทรงยืนหยัดในแนวทางสันติและ
ขันติโดยตลอด
ในเดือนมกราคม 1934 ได้มีพระราชดำรัสอำลาประชาชนและเสด็จพระราชดำเนินทางเรือ
ออกจากพระนครเพื่อรักษาพระเนตรหลังการผ่าตัด ในการนี้ได้เสด็จเจริญพระราชไมตรีกับ
ประเทศต่างๆ ในยุโรปในฐานะกษัตริย์ภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญพระองค์แรกของสยาม อีกทั้ง
เพื่อทอดพระเนตรความก้าวหน้าอีกทั้งพบปะผู้นำทางการเมืองในประเทศที่ได้การปฏิรูป
เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแล้ว ในขณะเดียวกัน
ทรงยังติดตามความก้าวหน้าทางการเมืองในประเทศไทยผ่านเอกสารรายงานต่างๆ เช่น รายงาน เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
การประชุมสภาผู้แทน และทรงมีพระราชบันทึกแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ทรงเห็นว่าสำคัญ