Page 409 - kpi15476
P. 409
40 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ได้เคยรับราชการช่วยเหลือประเทศไทยในการเจรจาแก้ไขกฎหมายที่ทำไว้กับต่าง
ประเทศอย่างไม่เป็นธรรมหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สงบลง และทรงเชิญให้แวะมาเพื่อ
ทรงปรึกษาหารือในเรื่องนี้ และขอให้ตอบคำถามที่เร่งด่วนของสยามด้วย ซึ่งพระยา
กัลยาณไมตรีก็ทำบันทึกกราบบังคมทูลตอบในวันที่ 27 กรกฎาคม โดยได้ตอบคำถาม
ทุกข้อ
ประเด็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนประเด็นหนึ่งคือเรื่องการดำริที่จะปรับเปลี่ยนการปกครอง
เป็นแบบ Limited monarchy โดยให้มีสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนประชนเกิดขึ้นใน
ประเทศสยาม ในบันทึกที่ทรงมีถึงพระยากัลยาณไมตรี โอกาสนั้น ทรงสั่งให้เตรียมการ
ให้มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ในประเทศ โดยมอบให้พระยากัลยาณไมตรียกร่างคร่าวๆ
ขึ้นถวาย
พระยากัลยาณไมตรีแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร
ในเวลานั้น เพราะจะปฏิบัติได้ผลดีได้ยาก ด้วยผู้ที่จะมาลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนนั้นจะต้องมีความรู้ความเข้าในระบบเลือกตั้ง (เรียกว่าต้องเป็น An Intelligent
electorate) ส่วนร่างรัฐธรรมนูญที่พระยากัลยาณไมตรีได้ร่างเสนอขึ้นมาในปี 1920 ใน
ลักษณะที่ให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก คือ เพิ่มให้มีนายกรัฐมนตรีขึ้นมาเป็นหัวหน้า
รัฐบาล แต่อำนาจสูงสุดก็ยังอยู่ที่พระมหากษัตริย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวโปรดให้ส่งบันทึกของพระองค์และคำตอบของพระยากัลยาณไมตรีพร้อมกับ
ร่างรัฐธรรมนูญนั้นส่งไปให้สภาอภิรัฐมนตรีพิจารณา โดยสมเด็จกรมพระยาดำรง
ราชานุภาพทรงมีบันทึกอย่างยืดยาวถวายตอบกลับมา โดยทรงเห็นว่าไม่ใช่เรื่องรีบร้อน
ที่จะต้องคิดปรับเปลี่ยนระบบในขณะนั้น เพราะประเทศมีงานสำคัญอื่นๆ อีกมาก ทรง
ยกคำกล่าวว่า “Rome was not built in a day” นอกจากนี้ได้ทรงแสดงความไม่เห็น
ด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญที่พระยากัลยาณไมตรีเสนอมาในเรื่องให้มีนายกรัฐมนตรี เมื่อ
พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงแต่งตั้งเป็นอภิรัฐมนตรีไม่เห็นด้วย พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7
ก็ทรงใช้ขันติธรรมและเก็บเรื่องรอไปก่อน
6.2.2. การอภิปรายเรื่องประชาธิปไตยในสภาองคมนตรี ต่อมาในเดือนสิงหาคม 1927
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 โปรดให้สภาองคมนตรีอภิปรายกันในประเด็นเรื่อง
คุณประโยชน์และโทษของการปกครองระบอบประชาธิปไตย และบทบาทของสภา
องคมนตรีว่าควรจะเป็นสภาที่ปรึกษาหรือควรทำหน้าที่ตรากฎหมายด้วย นอกจากนี้
ก็ยังทรงนำประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ได้ทรงบันทึกถามพระยากัลยาณไมตรีมาขอให้สภา
องคมนตรีออกความเห็นด้วย ในการอภิปรายในประเด็นดังกล่าว แม้แต่พระองค์เจ้า
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย นั้น เพราะคนไทยส่วนใหญ่ใช้ความรู้สึกในการตัดสินใจมากกว่าเหตุผลและไม่เคยชิน
ธานีนิวัติ ก็ยังไม่ทรงเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยจะมีความเหมาะสมสำหรับสยามในยุค
กับการปกครองจากข้างล่างขึ้นมาข้างบน ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ก็ทรงบันทึกตอบ
ไปด้วยขันติธรรมว่า หากวันหนึ่งสยามจะต้องถูกบีบให้เปลี่ยนแปลงเป็นระบอบ
ประชาธิปไตย พระบรมวงศานุวงศ์จึงต้องศึกษาหาความรู้และเตรียมตัวให้พร้อม และ