Page 407 - kpi15476
P. 407
40 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
หลังสงครามสงบลง ก็เกิดปัญหาเศรษฐกิจ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยวิธีการใช้ความ
รุนแรง
พระองค์เองก็ได้รับการวางแนวทางการศึกษาในวิชาการทหาร ทรงสนพระทัยติดตามการทำ
สงครามและการใช้กำลังเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในหลายๆ ประเทศ แต่ก็ทรง
มองเห็นอยู่ตลอดว่าผลของสงครามและการใช้ความรุนแรงนั้นทำให้ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก เกิด
เศรษฐกิจตกต่ำและเกิดความระส่ำระสายยาวนานไปทั่ว จึงทรงพยายามที่จะวางแผนการแก้
ปัญหาต่างๆ ก่อนที่ปัญหาจะก่อตัวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีหลายคนได้วิเคราะห์ไว้ว่า โดย
พื้นฐานพระราชนิสัย ทรงรักความสงบ ไม่โปรดการใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือยหรูหรา และทรงยอม
เสียสละเพื่อลดความขัดแย้งในหลายๆ เรื่อง
เหตุการณ์ในจีนในปี ค.ศ.1911-12 ทำให้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงวิตกกังวลอยู่ไม่น้อย
เนื่องจากจีนเป็นประเทศใหญ่อยู่ใกล้สยามและมีอิทธิพลในด้านประชากรต่อสยามมากที่สุดใน
ขณะนั้น ประชาชนชาวจีนได้พากันอพยพหนีความรุนแรงของภัยสงคราม ภัยธรรมชาติและความ
ยากจนเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในจังหวัดต่างๆในประเทศไทยเป็นระลอกๆ หลายระลอกใน
อดีต
การปฏิวัติปี ค.ศ. 1911 นำโดยกลุ่ม ดร.ซุนยัตเซ็น หัวหน้ากลุ่มก๊กมินตั่งหรือกลุ่ม
ประชาธิปไตยชาตินิยม จนสามารถโคนล้มราชวงศ์ชิงที่มีอำนาจมากปกครองจีนมายาวนานได้
สำเร็จ แต่หลังปี 1911-12 แล้ว ก็เกิดความยุ่งยากติดตามมาในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง เกิด
แตกแยกกันเองในกลุ่มรักชาติประชาธิปไตยปีกซ้ายและปีกขวา ทำให้เหมาเจอตุงก่อตั้งพรรค
คอมมิวนิสต์จีนขึ้นในปี 1920 และแยกตัวออกมามาในปี 1927 หลังจากนั้นก็เกิด
สงครามกลางเมืองยาวนานจนถึงปี ค.ศ. 1937
เหตุการณ์ในจีนนั้นทำให้มีคนอพยพเข้ามาจำนวนมาก การอพยพในช่วงนั้นของคนจีนที่เข้า
มาในจังหวัดต่างๆ ของไทยนั้นมีตัวเลขแสดงจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปกติ เฉพาะในช่วง
ทศวรรษ 1920 นั้นมีคนจีนอพยพเข้ามาในสยามจำนวนมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งอาจมี
บางพวกบางกลุ่มยังผูกพันกับกลุ่มการเมืองในประเทศจีนอยู่ ในพระราชดำรัสต่อชุมชนชาวจีน
ในหลายจังหวัดจึงมีข้อความชมเชยคนจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในสยามมาก่อนนานๆ และได้ทำ
คุณประโยชน์หลายด้าน ทรงขอให้รักษาความดีที่บรรพบุรุษชาวจีนที่อพยพเข้ามาแต่ก่อนได้
กระทำไว้ นอกจากนี้ก็ยังทรงห่วงใยคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจีนด้วย
นอกจากนี้ ในช่วงเดียวกันนั้น ก็มีคนต่างชาติต่างศาสนาเข้ามาทำการค้าและทำงานหลากหลาย
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย เสรีภาพในการนับถือศาสนาที่เป็นประเพณีมาแต่โบราณ ขณะเดียวกัน ทรงเน้นย้ำในเรื่องการอยู่
อาชีพในประเทศไทยมากขึ้น เกิดมีหนังสือพิมพ์ภาษาต่างๆ สถานที่ทางศาสนาต่างๆ โรงเรียน
สอนภาษาต่างๆ มากขึ้น พระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ดำเนินตามพระราโชบายเรื่อง
ร่วมกันโดยขันติและสันติ ดังจะเห็นได้จากในพระราชดำรัสหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายที่พระราชทาน
ต่อชุมนุมลูกเสือที่จังหวัดนครปฐมเมื่อเดือนมิถุนายน 1932 (อาจจะนับว่าเป็นพระราชดำรัส
สาธารณะครั้งสุดท้ายก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง) ก็ได้ทรงเน้นย้ำให้ลูกเสือยึดมั่นในการรัก