Page 408 - kpi15476
P. 408

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   40


                      ชาติและศาสนา แต่ให้มีจิตใจยอมรับความดีงามของชนชาติอื่นศาสนาอื่น และเข้าใจในคุณค่าทาง
                      ศีลธรรมที่เป็นหลักคำสอนในทุกศาสนาด้วย


                            สังคมไทยนั้นเป็นสังคมพุทธเป็นส่วนใหญ่ และผู้คนก็มีแนวทางขันติและสันติอยู่เดิม
                      อย่างไรก็ตามในกระแสความนิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน และในท่ามกลางผู้คนที่

                      ทะลักเข้ามาอย่างผิดธรรมดา ย่อมจะทำให้เกิดความตึงเครียด กระทบกระทั่งอยู่บ้าง ซึ่งพระองค์
                      ก็พยายามหามาตรการหลายด้าน เช่น มาตรการทางกฎหมายคนเข้าเมือง และการแก้ไขพระราช

                      บัญญัติโรงเรียนเอกชน รวมทั้งการเสด็จไปเยี่ยมชุมชนต่างๆ ก็เป็นมาตรการป้องกันปัญหาอย่าง
                      สันติที่ได้ผลดี


                       6.2 การเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างสันติ


                            ในส่วนพระองค์เอง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงมองเห็นการณ์ไกลว่าการเปลี่ยนในด้าน
                      การปกครองของสยามจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทรงแสดงความคิดเห็นเป็นลายลักษณ์ไว้หลาย

                      ครั้งต่อที่ปรึกษาทั้งไทยและต่างประเทศว่า ทรงแน่พระทัยว่าการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิ
                      ราชนั้นจะอยู่ต่อไปไม่ได้นานในสยาม จึงทรงพยายามเตรียมความพร้อมในคณะรัฐบาลและใน

                      สังคม ด้วยความขันติและด้วยความสงบ

                            ในสมัยนั้น คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีความคุ้นเคยกับการพูดจาแลกเปลี่ยนความคิดกันอย่าง

                      เสรี หรือการแสดงความเห็นเห็นที่แตกต่างกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคลที
                      คิดเห็นขัดแย้งกัน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมแนวทางขันติธรรมและสันติ

                      ในการให้หลายๆ ฝ่ายร่วมแสดงความคิดเห็นในการบริหารประเทศในที่ประชุมกรรมการสภาที่
                      ทรงแต่งตั้งขึ้นมาโดยตลอด จนบางครั้ง ทรงถูกมองไปว่า ทรงตัดสินใจล่าช้า ทรงอ่อนแอ ตกอยู่
                      ใต้การครอบงำของพระบรมวงศานุวงศ์หัวอนุรักษ์ ไม่กล้าใช้อำนาจพระเจ้าแผ่นดินอย่างเด็ดขาด


                            ในความคิดและความเชื่อพื้นฐานของพระองค์ ทรงเห็นว่า การใช้อำนาจเด็ดขาดของกษัตริย์

                      โดยไม่ปรึกษาไตร่ตรองให้รอบด้าน หรือการที่กษัตริย์จะทรงตัดสินพระทัยโดยลำพังนั้นเป็น
                      อันตรายต่อสังคม ยกเว้นว่าจะเป็นกษัตริย์ที่ประเสริฐและถึงพร้อมในทุกด้าน ในเรื่องที่สำคัญๆ
                      แม้เป็นเรื่องของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเสนอมาแต่ไม่เป็นธรรมต่อส่วนรวม หรือมีผลกระทบต่อ

                      ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้งานของกระทรวงอื่น ก็ทรงอดทนที่จะให้มีการถกเถียงกันด้วยข้อมูลและ
                      เหตุผล เพราะหากฝ่ายต่างๆขาดความเข้าใจ ไม่พร้อมที่จะรับนโยบายและไม่เห็นด้วย จะเป็นการ

                      สร้างความร้าวฉานและเกิดภัยอันตรายต่อประเทศชาติในระยะยาว

                        6.2.1  พระราชบันทึกเรื่องปัญหาบางประการของสยามและการเตรียมร่างรัฐธรรมนูญ

                                ตั้งแต่ปีแรกที่ทรงขึ้นครองราชย์ ได้ทรงวิเคราะห์ปัญหาสำคัญของประเทศด้วยพระองค์
                                เองไว้เป็นประเด็นๆ อย่างชัดเจน ในเอกสารลงวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1926 ที่ทรง

                                เรียกว่า “A Memorandum on Some of the Problems of Thailand with Questionnaire
                                for Your Consideration” ทรงส่งเอกสารนี้ให้ Dr.Francis B. Sayre หรือ พระยา                เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                                กัลยาณไมตรีซึ่งเป็นอาจารย์วิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกาและ
   403   404   405   406   407   408   409   410   411   412   413