Page 424 - kpi15476
P. 424

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   423


                      “มนุษยภาพ” สร้างหนังสือพิมพ์อิสรชนเพื่อความเป็นมนุษย์
                      ความเสมอภาคและเสรีภาพแห่งความรัก




                            พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเสรีภาพให้
                      แก่หนังสือพิมพ์ นักหนังสือพิมพ์อิสรชน ซึ่งมาจากสามัญชนได้แสดงแนวความคิด “มนุษยภาพ”

                      เพื่อสร้างจิตสำนึกสาธารณะทางการเมืองเป็นรากแก้วของการคิด และการทำหน้าที่บทบาทของ
                      การเป็นหนังสือพิมพ์ที่ทำประโยชน์ทางการเมืองเพื่อส่วนรวม โดยมีความต้องการผลิต

                      หนังสือพิมพ์ให้เป็นหนังสือพิมพ์เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง นักหนังสือพิมพ์อิสรชนมีพื้นฐานชีวิต
                      จากสามัญชนที่มีโอกาส เข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียนสามัญ มีจุดเริ่มต้นจากการทำ
                      หนังสือพิมพ์ในห้องเรียน หรือหนังสือในชั้น เมื่อจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาแล้ว ด้วยใจรักการ

                      ประพันธ์และได้ก้าวสู่การเป็นหนังสือพิมพ์อาชีพ ได้แก่ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ นายมาลัย
                      ชูพินิจ นายโชติ  แพร่พันธุ์ และนายอบ  ไชยวสุ ทั้งสี่ท่านจึงมีแนวความคิด “มนุษยภาพ” อยู่ใน

                      หัวใจ คือ เป็นหนังสือพิมพ์อิสรชนเพื่อความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค และเสรีภาพ ต้องการ
                      “ปลุก” คือ การทำให้ได้สติรู้สึกตัว และการกระตุ้นให้คิด “ปลูก” คือ การทำความเข้าใจให้รู้แจ้ง
                      และ “เปลี่ยนแปลง” คือ การปรับเปลี่ยน แก้ไข สร้างใหม่ ดังสาระสำคัญต่อไปนี้


                            “การเป็นหนังสือพิมพ์อิสรชนเพื่อความเป็นมนุษย์” ในแนวความคิดหลัก “มนุษยภาพ”
                      นายกุหลาบ  สายประดิษฐ์ ผู้นำความคิดของกลุ่มนี้ ได้เสนอความคิดไว้ในบทความที่ชื่อว่า

                      “มนุษยภาพ” ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ไทยใหม่ ฉบับวันที่ 11 ธันวาคม 2473 ฉบับวันที่ 10 และ
                      12 มกราคม 2474 และหนังสือพิมพ์ ศรีกรุง ฉบับวันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2474 และฉบับวัน

                      พฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2474 นายกุหลาบ  สายประดิษฐ์ มีแก่นความคิด คือ ให้ความสำคัญ
                      ต่อความเป็นมนุษย์ ความเป็นธรรมของสังคม ความเสมอภาคของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์มาจากบรรพ
                      บุรุษเดียวกัน คือ ลิง มีนัยของความหมายว่า มนุษย์มีความเหมือนกันทางชาติพันธุ์โดยธรรมชาติ

                      กล่าวถึงสาระ 4 ประการ ได้แก่ (1) ความซื่อตรง คือ ความจริง ความจริง คือ ความซื่อตรง
                      (2) “ความเป็นไท” ของอิสรชน (3) ความหลงของมนุษย์ถือว่าอำนาจคือ เงินกับชนชั้นสูง

                      ทำอะไรถูกหมด เรียกว่า “บาปมุติ” และ (4) ความสงบ


                            (1)  ความซื่อตรง คือ ความจริง ความจริง คือ ความซื่อตรง เป็นคุณธรรมสำคัญยิ่งของคน
                                ทั่วไป ความจริงและความซื่อตรงจะต้องไปด้วยกันเสมอ มิใช่มุ่งเน้นเพื่อความอยู่รอด
                                เฉพาะตน แต่ต้องมี “ความเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม” มนุษย์เราถ้าละทิ้งความ

                                จริงและความซื่อสัตย์จะมีสภาพเป็น “รูปหุ่น” ที่ไร้ชีวิตและจิตวิญญาณ ตกอยู่ในอำนาจ
                                ของคนอื่นมาชักใย และเป็นทาสความคิดของผู้อื่นได้โดยง่าย


                           (2)  “ความเป็นไท” ของอิสรชน นายกุหลาบ  สายประดิษฐ์ ได้ชูประเด็นเรียกร้อง “ความ
                                เป็นไท คือ ความเป็นมนุษย์ที่มีความอิสระทั้งทางปฏิบัติและความคิดเหมือนอิสรชน

                                ทั่วโลก”                                                                                 เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   419   420   421   422   423   424   425   426   427   428   429