Page 443 - kpi15476
P. 443

442     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       การวิวาทเกิดขึ้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 นายจงใจภักดิ์
                  และครอบครัวได้เดินทางไปยังสถานีรถไฟ เพื่อโดยสารไปยังหัวหินและเกิดกรณีพิพาทกับ

                  หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร

                       ต่อมา หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ได้ทำฎีกาทูลถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ กล่าวโทษ

                  นายจงใจภักดิ์เป็นจำเลยที่ 1 และพระอภัยวงศ์วรเสรฐเป็นจำเลยที่ 2 โดยมีข้อกล่าวหาว่า
                  นายจงใจภักดิ์ จำเลยที่ 1 ยกกระเป๋าข้ามพระเศียรโจทก์ เอื้อมมือข้ามพระเศียรหม่อมเจ้าหญิง

                  วรรณวิลัย ทุบพระหัตถ์โจทก์ และกล่าวคำหมิ่นประมาทผู้เป็นเชื้อพระวงศ์ นอกจากนี้ได้ชก
                  นายกาเอตตี ช่างอิตาเลียน ซึ่งเป็นพรรคพวกของโจทก์ ขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้อยู่ใกล้ชิดจำเลย
                  ที่ 1 เห็นเหตุการณ์แต่ไม่ห้ามปราม


                       เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงรับฎีกาของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ก็ทรง

                  โปรดฯ ให้ตั้งขุนนางผู้ใหญ่เป็นกรรมการไต่สวน 5 คน ได้แก่ เจ้าพระยาวรพงศ์ พระยาเทเวศ-
                  รวงศ์วิวัฒน์ พระยาบำเรอภักดิ์ พระยาศรีวิกรมาทิตย์และพระยามหาเทพ


                       หลังการไต่สวน มีการตัดสินให้นายจงใจภักดิ์ จำเลยที่ 1 ออกจากราชการและพระยาอภัย
                  วงศ์วรเสรฐ ถูกกรมวังตักเตือนและทำทัณฑ์บนไว้ แต่นายจงใจภักดิ์ถือว่า ตนไม่มีความผิดจึงได้

                  ถวายฎีกาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โดยกราบทูลว่าหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ทำร้ายข่มเหงและ
                  กล่าววาจาหยาบคายด่าว่าตนก่อน หนังสือพิมพ์ร่วมสมัยหลายฉบับต่างก็ให้ความสนใจลงข่าว
                  อย่างต่อเนื่อง เช่น บทความเรื่อง “ไม่รู้จักจ้าว” ในหนังสือพิมพ์หลักเมือง ฉบับวันที่ 12 มิถุนายน

                  พ.ศ. 2471 “ฎีกานายจงใจภักดิ์” ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพเดลิเมล์ ฉบับวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ.
                  2471 เป็นต้น


                       หนังสือพิมพ์ไทยหนุ่มฉบับพิเศษ (วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2471) พาดหัวข่าวว่า “ราษฎรดู

                  หมิ่นเจ้าด้วยกายแลวาจา...เจ้าไม่ใช่คนธรรมดา” เนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า

                          “...พอเรื่องยิงกันกลางพระนครสงบ ก็มีเรื่องหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์กับนาย

                     จงใจภักดิ์ ซึ่งเวลานี้ประชาชนกำลังตื่นเต้นเอาใจใส่กันอยู่มากไม่น้อยหน้ากว่าเรื่องยิงกัน
                     กลางพระนครนั้นเลย เรื่องนี้ชั้นต้นก็เงียบเชียบอยู่แต่พอได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเสร็จ
                     แล้วเปิดเผยให้ประชาชนทราบจึงพึ่งมาโด่งดังกึกก้องขึ้นในสัปดาห์นี้...” 27


                       นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่เรื่องราวในรูปแบบลำตัดการเมืองของนักเขียนนามปากกา

                  “ลำตัดเสือเตี้ย” เสนอบทร้องลำตัดเรื่อง “สอนพระอภัยฯกับนายจงใจภักดิ์ให้รู้จักค่าของเจ้า” ใน
                  หนังสือพิมพ์หลักเมือง ฉบับวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2471 ซึ่งเพราะความสะดวกในการวิพากษ์
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   สอนใจราษฎรไทยว่า นายจงใจภักดิ์จำเลยที่ 1 และพระอภัยวงศ์วรเสรฐจำเลยที่ 2 เป็นผู้ไม่รู้จัก
                  ผู้วิจัยได้แบ่งเนื้อร้องลำตัดออกเป็น 20 บท และเนื้อร้องลำตัดของนายเสือเตี้ยแม้จะมีลักษณะ
                  ต้องการยกคดีวิวาทระหว่างนายจงใจภักดิ์กับหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ให้เป็นอุทาหรณ์



                  ที่ต่ำที่สูงไม่เจียมตนเป็นเพียงราษฎร กระทำการละเมิดกฎมนเทียรบาล

                    27
                        พาดหัวข่าว “ราษฎรดูหมิ่นเจ้าด้วยกายแลวาจา...เจ้าไม่ใช่คนธรรมดา” ใน หนังสือพิมพ์ไทยหนุ่มฉบับพิเศษ,

                  ประจำวันที่ 9 มิถุนายน 2471.
   438   439   440   441   442   443   444   445   446   447   448