Page 87 - kpi15476
P. 87
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
สอบว่าทำงานอะไร มีบุตรภรรยาจริงหรือไม่ มีผู้รับรองความประพฤติหรือไม่ เมื่อทรงได้รับ
คำตอบว่า ทำการค้าขายข้าวเปลือก มีภรรยาคนไทยและมีบุตรด้วยกันจริง จึงได้พระราชทาน
อภัยโทษ แสดงว่าทรงมีพระเมตตาแก่ผู้ประกอบสัมมาอาชีวะและต่อภรรยาและบุตรของเขา แต่
ในอีกรายหนึ่งที่ได้กระทำความผิดร้ายแรง แม้มีภรรยาเป็นไทยและบุตรหลายคน และทรง “รู้สึก
สงสาร” ภรรยาและบุตร “อยู่บ้าง” ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกฎีกา. (สุวดี 2537 : 25-26)
สุดท้ายในเรื่อง “ความรู้จักพอดี” นั้น มีข้อถกเถียงกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ทั้งในหมู่
ผู้กำหนดนโยบายและพระราชกำหนดกฎหมายแล้วว่าควรมีระบบหลายเมียตามประเพณีเดิมหรือ
มีระบบเมียเดียวตามประเพณีตะวันตก ในรัชกาลที่ 7 การถกเถียงกันในหน้าสื่อมวลชนมีมากขึ้น
จึงได้มีพระราชดำริให้พิจารณาในเรื่องนี้อีก โดยสภากรรมการองคมนตรีมีส่วนร่วมในการ
พิจารณา และให้เปลี่ยนชื่อจาก “ร่างพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว” เป็น “ร่างพระราช
บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย” และ ต่อมาได้มีข้อถกเถียงในเสนาบดีสภาอีก
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ลงมติ ปรากฏว่า 6 คน ใน 14 คน สนับสนุนระบบเมียเดียว อีก 8 คน
สนับสนุนระบบหลายเมีย หลังจากการลงมติ ซึ่งทรงยอมรับ เสียงส่วนใหญ่นั้น ได้ทรงแสดง
พระราชทัศนะว่า ในทางปฏิบัตินั้นระบบเมียเดียวไม่เป็นผลแม้ในประเทศตะวันตก ดังนั้นไม่มี
เหตุผลที่จะละอายหากสยามจะมีระบบภรรยาหลายคนต่อไป ไม่ทรงเห็นด้วยในข้อที่ว่าให้รับลูกแต่
ไม่เอาแม่ เพราะจะไม่เป็นธรรมต่อสตรี ทรงสรุปว่า “ควรให้มีเมียได้หลายคน ซึ่งตรงกับ
ความจริงและจะเป็นเช่นนั้นไปอีกนาน” ในที่สุดได้ประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ และกำหนดให้มี
ผลบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 แต่ครั้นถึงเวลานั้น ได้โปรดเกล้าฯให้รอการประกาศใช้
ไปจนถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2475 เพราะภาวะเศรษฐกิจผืดเคือง การจดทะเบียนตามพระราช
บัญญัติจะเป็นการทำให้เกิดรายจ่ายใหม่ขึ้น เห็นได้จากกรณีนี้ว่า ทรงมี “ความรู้จักพอดี”
ในหลายๆ ด้าน โดยพระองค์เองทรงเป็นแบบอย่าง ในพระราชจริยวัตรของความนิยมในระบบ
เมียเดียว (สุวดี 2537 : 26 -28)
รวมความได้ว่า ในพระสถานภาพ “ลูกคนเล็กและน้องคนเล็ก” องค์สุโขทัยธรรมราชา
ทรงได้รับความเอ็นดูทั้งจากทูลกระหม่อมพ่อและสมเด็จแม่และพระเชษฐภคินีของพระองค์
บังเกิดเป็นความเกรงพระ (ราช) หฤทัย และการถือเป็นแบบอย่างอยู่ไม่น้อย แต่ในขณะเดียวกัน
พระสถานภาพนั้นได้เปิดพื้นที่โอกาสให้ได้ทรงเป็นพระองค์เองได้ตามสมควร จึงทรงสามารถ
ศึกษาหาความรู้ตามความสนพระหฤทัยได้โดยไม่ต้องทรงรู้สึกว่าจะต้องทรงรับกรณียกิจหน้าที่ใด
เป็นการเฉพาะ และปรากฏว่าทรงพระองค์ได้ดีตามธรรมเนียมของประเทศอังกฤษและได้ทรงได้
รับการหล่อหลอมและทรงหล่อหลอมพระองค์เองเป็นคนที่สมบูรณ์ก่อนอื่นใด ประกอบด้วยความรู้
ทักษะหลายด้านซึ่งทรงพระปัญญาสามารถเข้าพระหฤทัยในแก่นสาระที่ได้ทรงนำมาใช้ทรงปฏิบัติ
ตามสถานการณ์ ครั้นเมื่อได้ทรงพระสิกขาบท ศึกษาพระพุทธธรรมตลอดจนทรงปฎิบัติตาม
เอกสารประกอบการอภิปราย พระคุณธรรมประจำพระหฤทัย ดังที่ได้อัญเชิญมาแสดงให้เห็นไว้เป็นสังเขปแล้วนี้
พระธรรมวินัย ก็ได้ทรงเจริญพระสติปัญญา ศีลปฏิบัติ หยั่งซึ้งซึ่งธรรมชาติของมนุษย์ เป็น