Page 90 - kpi15476
P. 90
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 9
โดยหลักนิติธรรม เคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชนและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิเสียง
ในนโยบายของประเทศ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ทำความเข้าใจกันให้ถ่องแท้ต่อไป
5. ธรรมในพระราชจริยวัตร
โดยที่ “ทศพิธราชธรรม” ธรรม 10 ประการ ซึ่งมักจะเข้าใจกันว่าเป็นธรรมสำหรับ
พระมหากษัตริย์เท่านั้น ผู้รู้อธิบายว่าเป็นคุณธรรมที่ผู้นำองค์กรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่พึงมีเพื่อที่ผู้คน
ในองค์กรนั้นๆ เกิดความยินดีและพึงพอใจ [พระมหาหรรษา ธมมฺหาโส 2556 : 14 และ 32 -
33 และ พระธรรมปิฎก 2545 : 240 - 241.] ดังนั้น จึงสามารถใช้เป็นร่องในการพิจารณาถึง
ธรรมในพระราชจริยวัตรขององค์สุโขทัยธรรมราชาได้ โดยมิจำเป็นต้องผูกติดอยู่กับการที่ทรงเป็น
พระมหากษัตริย์อยู่ 9 ปีใน 48 ปี ของพระชนม์ชีพ ดังต่อไปนี้
(1) ทาน (รู้จักให้) พระองค์ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เมื่อเสด็จไปทรงศึกษา
ขั้นเสนาธิการที่ประเทศฝรั่งเศส เพื่อที่จะได้ไม่เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ
แผ่นดินหากการศึกษานั้นไม่ส่งผลให้ทรงปฏิบัติราชการทหารได้อย่างมีประสิทธิผล
ยิ่งขึ้น พระองค์พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนการศึกษาสำหรับ
ผู้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ซื้อหนังสือความรู้ด้านการเกษตรพระราชทานไปตามที่
ต่างๆ และบำรุงการแพทย์ เป็นการช่วยเหลือประชาราษฎรให้มีความสามารถที่จะ
เลี้ยงตนเองได้และมีสุขภาพดีขึ้น อีกทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดประกวด
และจัดพิมพ์หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กเป็นธรรมทาน เป็นต้น
(2) ศีล (รู้จักควบคุมพฤติกรรมของตนเอง) ความรู้จักพอดีหรือทางสายกลางเป็น
ลักษณะเด่นของพระราชจริยวัตร ไม่ทรงประพฤติหนักไปในทางโลก ทรงมีพระ
คู่ขวัญเพียงพระองค์เดียว ไม่ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หากแต่ให้พอสมพระเกียรติ
ทุกเมื่อ ทรงใช้พระเดชและพระคุณประกอบกัน โดยพระเดชนั้นทรงใช้ในทางที่เป็น
พระคุณ เป็นต้น
(3) ปริจาคะ (รู้จักเสียสละ) ทรงเสียสละเงินปีที่รัฐบาลจัดถวายลดลงในสัดส่วนที่มาก
เป็นการนำทางนโยบายการจัดงบประมาณแผ่นดินให้ได้ดุล ทรงบริจาคที่ดินและ
พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และทรงชักชวนให้ราษฎรได้บริจาคสมทบกับทาง
ราชการเป็นค่าก่อสร้างเฉพาะตัวสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ซึ่งจะยังประโยชน์แก่
ส่วนรวม ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจการปกครองแผ่นดินเพื่อความสงบ
เรียบร้อยของบ้านเมือง หลีกเลี่ยงการที่ประชาราษฎรจะรบกันเอง
(4) อาชชวะ (รู้จักซื่อตรง) ทรงมีความสัตย์ซื่อต่อสมเด็จพระมเหสี ซึ่งทรงมีแต่
พระองค์เดียว ทรงมีความซื่อตรงในการทรงอธิบายปัญหาและแนวทางการ
แก้ปัญหาของบ้านเมือง อีกทั้ง ทรงยอมรับความย่อหย่อนบกพร่องของพระองค์เอง
อย่างตรงไปตรงมา ไม่ทรงหลอกลวงประชาชน ทรงแนะนำอย่างไรก็ทรงปฏิบัติ เอกสารประกอบการอภิปราย
เช่นนั้น คือ ทรงมีความสัตย์ซื่อต่อพระองค์เอง ไม่ทรงหักเหจากหลักการที่ทรง
ยึดถือ