Page 89 - kpi15476
P. 89
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
3. พระราชหฤทัยกว้าง รับฟังความคิดเห็น
พระอุปนิสัยที่เด่นอย่างหนึ่ง คือ พระราชหฤทัยที่กว้าง พร้อมที่จะทรงสดับและตริตรอง
ความคิดเห็นของผู้อื่น ถึงขนาดที่พระเชษฐาผู้อาวุโสกว่าพระองค์ถึงหนึ่งรอบนักษัตรรับสั่งว่าทรง
“เป็น liberal อย่างเอก” การทรงรับฟังความคิดเห็นและพระราชหฤทัยที่กว้างนี้ ไม่ได้
หมายความว่า ไม่ทรงมีความคิดเห็นเป็นของพระองค์เอง แต่ในพระราชสถานะพระมหากษัตริย์
ผู้เป็นประธานในการประชุม ได้ตั้งพระราชหฤทัยถือเสียงส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ เสมือนว่าจะทรงวาง
พระองค์เป็นแบบอย่างของวิถีประชาธิปไตย หากแต่ว่าพระราชนิยมประการนี้ ได้ยังให้ผู้คนที่
คาดหวังให้ทรงใช้อำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์เกิดความผิดหวังในพระองค์ กระนั้น ก็ได้ทรงมีความ
อดกลั้นต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อมวลชนต่าง ๆ ไม่ได้ทรงกระทำการรุนแรงด้วยการปิดปาก
เมื่อใดก็ตามที่พระองค์ทรงแสดงพระราชทัศนะของพระองค์อย่างชัดแจ้ง ก็ได้ทรงย้ำไว้ด้วยว่า
ความคิดเห็นของพระองค์ต้องมีการพิสูจน์ความถูกต้องต่อไปเช่นเดียวกับความคิดเห็นของผู้อื่น
4. พระราชทัศนะต่อประชาธิปไตย
พระองค์ทรงมีความสงสัยตามแบบฉบับที่ดีของปัญญาชนว่า ประชาธิปไตยนั้นเป็นของดี
จริงหรือไม่ และเหมาะสมสำหรับที่จะใช้ในสยามหรือไม่ แต่กระนั้น ในฐานะผู้ศึกษาติดตาม
กระแสธารแห่งประวัติศาสตร์ ได้ทรงวินิจฉัยว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรืออัตตาธิปไตยนั้นนับว่า
จะล้าสมัย และประชาธิปไตยกำลังเป็นที่ใฝ่หาของผู้คน ดังนั้น จึงได้ทรงเห็นเป็นพระราชพันธกิจ
ที่จะต้องทรงอำนวยให้ระบบกษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ซึ่งเป็น
รูปแบบหรือแบรนด์ (brand) หนึ่งของประชาธิปไตย ได้วิวัฒน์ขึ้นในสยาม เพื่อที่จะได้เป็นหนทาง
หลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างการมีสถาบันพระมหากษัตริย์กับการมีระบอบประชาธิปไตย และ
ในการนั้นรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่คู่กับ และยังคุณประโยชน์แก่สยามมาแต่
โบราณกาล การทรงเห็นเป็นพระราชพันธกิจเช่นนี้ สอดคล้องกับแนวทางการบำรุงรักษาสิ่งที่ดีแต่
อดีตควบคู่ไปกับการนำสิ่งใหม่มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะแก่สยาม ซึ่งทรงใช้เป็นพระบรมราโชบาย
ทุกด้าน และไม่แปลกในเมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้สืบราชสันตติวงศ์
แม้ว่าพระองค์จะได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญด้วยการ
ทรงใช้พระราชสิทธิของพระมหากษัตริย์ในระบอบนั้นในการพระราชทานคำปรึกษา คำแนะนำ
และคำเตือนสติแก่ผู้ที่มีอำนาจในการปกครองจริง ๆ แต่ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันเกี่ยวกับว่าระบบ
กษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญนั้นควรเป็นเช่นใด เป็นเหตุสำคัญให้มีความขัดแย้งตกลงกันไม่ได้
ระหว่างพระองค์กับผู้มีอำนาจในการปกครอง นอกจากนั้น เมื่อทรงเห็นว่าการปกครองมิได้เป็นไป
โดยหลักนิติธรรม กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้ยังขาดโอกาสในอันที่จะมีสิทธิเสียงใน
นโยบายของประเทศโดยแท้จริง พระองค์ผู้ได้ทรงสัญญาไว้แต่เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติที่จะทรง
เอกสารประกอบการอภิปราย สัญญานั้นไว้ได้ เนื่องด้วยได้ทรงสละพระราชอำนาจแล้วตั้งแต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ปกป้องคุ้มครองประชาชนตามหน้าที่ของธรรมราชา จึงทรงละอายพระทัยที่ไม่ทรงสามารถรักษา
เมื่อ พ.ศ. 2475 อีกทั้งการทรงใช้พระราชสิทธิก็ไม่ได้รับการยอมรับ เหตุดังนั้น จึงได้ทรงสละ
ราชสมบัติ โดยได้ทรงย้ำถึงหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงว่าต้องเป็นการปกครอง