Page 91 - kpi15476
P. 91

90     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                            (5) มัทฑวะ (รู้จักอ่อนโยน) ความสำรวม มีเสน่ห์ และคุณธรรมประจำพระทัยได้โน้ม
                               นำให้พระอาจารย์ชาวต่างประเทศเอ็นดูและใส่ใจในพระบุคลิกลักษณะ ความไม่ถือ

                               พระองค์โน้มนำให้เด็กๆ ในพระราชอุปการะรักและภักดีต่อพระองค์ และสำนึกใน
                               พระมหากรุณาธิคุณโดยมิขาดความเกรงพระทัย ทรงแผ่พระเมตตาแก่เด็กๆ บุตร
                               ข้าราชการบริพารด้วยการจัดการศึกษาสำหรับเขา ตลอดจนต่อนักเรียนและลูกเสือ

                               ทั่วไป ซึ่งได้พระราชทานข้อคิดให้รู้จักคิด มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักผูกจิตผูกใจ
                               ผู้น้อย


                            (6) ตปะ (รู้จักยับยั้งชั่งใจ) ทรงมีความเพียรสูงในการทรงศึกษาเล่าเรียน ไม่แต่เมื่อ
                               ทรงพระเยาว์ หากทรงขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งรวมถึงเกี่ยวกับ

                               พระพุทธธรรม จึงทรงมีความมุ่งมั่นในการทรงทำหน้าที่พระมหากษัตริย์สู่เป้าหมาย
                               ที่ทรงตั้งไว้ ทั้งๆ ที่ได้ทรงประสบกับอุปสรรคขวากหนามนานาประการ ทรงใช้

                               ความเชื่อในผลแห่งกรรมเป็นเครื่องเตือนสติว่า “ถ้าคนเราเชื่อในกรรมจริงๆ แล้ว
                               จะได้ความสุขใจไม่น้อย โดยที่ไม่ทำให้รู้สึกท้อถอยอะไร เพราะไม่ควรมานั่งซัด
                               ใครๆ หรืออะไรต่างๆ จนไม่เป็นเรื่อง”


                            (7) อักโกธะ (รู้จักระงับความโกรธ) แม้ว่าจะไม่ทรงพอพระราชหฤทัยกับเหตุการณ์

                               บ้านเมืองอยู่เนืองๆ แต่ก็ทรงระงับพระอารมณ์ไว้ได้เสมอ โดยทรงระลึกถึง
                               พระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตอบโทรเลขที่รัฐบาลมีใป
                               แสดงความโทมนัส เมื่อทรงสละราชสมบัติว่า แม้ว่าจะได้มีความเห็นไม่ตรงกัน

                               “ข้าพเจ้ามิได้มีความรู้สึกโกรธขึ้งและแค้นเคืองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเลย”


                            (8) อวิหิงสา (รู้จักการไม่เบียดเบียน) พระราชทานพระราชดำรัสบ่อยครั้ง ชักจูงให้
                               ประชาราษฎรหมู่เหล่าต่างๆ ละจากการเบียดเบียนกัน ไม่ทรงหลงระเริงในอำนาจ
                               ราชศักดิ์ กลับทรงเลือกที่จะสร้างกลไกจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์เอง ทรง

                               ถือเสียงส่วนใหญ่เป็นเกณฑ์ในการกำหนดนโยบาย ทั้งๆ ที่หลายครั้งไม่เป็นไปตาม
                               พระราชประสงค์ เมื่อต้องทรงประหยัดตัดทอนงบประมาณแผ่นดินหรือเก็บภาษี

                               เพิ่ม ก็ได้ทรงทำด้วยความระมัดระวังมิให้เดือดร้อนแก่ผู้ที่ยากไร้ และด้วยความ
                               หนักพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง


                            (9) ขันติ (รู้จักอดทน) ทรงมีความอดทนในการทรงฝึกทหาร ทั้งๆ ที่พระวรกายย่อม
                               และพระพลานามัยไม่สมบูรณ์ ทรงงานหนักด้วยความละเอียดถี่ถ้วน เข้าถึง

                               ประเด็นสาระแห่งเรื่องราวที่ต้องทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ทั้งๆ ที่ทรงมีปัญหา
                               พระเนตร ทรงมุ่งมั่นประกอบพระราชภารกิจพระมหากษัตริย์สู่เป้าหมายที่ได้ทรง
        เอกสารประกอบการอภิปราย   โดยต่อเนื่อง ทรงบากบั่นหาทางแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี และในวาระสุดท้าย จึงทรง
                               ตั้งไว้แต่แรกจนถึงที่สุดจริงๆ ทั้งๆ ที่ต้องทรงประสบกับความท้าทายยากลำบาก


                               สละราชสมบัติ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อ
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96