Page 104 - kpi15476
P. 104

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   103

                         ผู้ปกครอง


                            ในสมัยพุทธกาล พระราชาคือผู้ปกครองแผ่นดินหรือรัฐ ซึ่งมีการปกครองสองแบบ คือ

                      รัฐใหญ่เป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น แคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิเป็นพระราชา แคว้น
                      มคธมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระราชา กับรัฐเล็กๆ ซึ่งมีพระราชาเป็นของคนและรวมกันเป็น
                      สมาพันธรัฐ ปกครองร่วมกันมีลักษณะเป็นอภิชนาธิปไตยแบบหนึ่งหากพิจารณาโดยหลักอธิปไตย

                      3 แบบแรกเป็นแบบอัตตาธิปไตยและแบบหลังอาจสังเคราะห์เป็นแบบโลกาธิปไตย แต่เมื่อมองใน
                      แง่รัฐ พระราชาก็ล้วนเป็นใหญ่ในรัฐของคน หรือเป็นอัตตาธิปไตยในรัฐของตน รัฐแบบสหพันธรัฐ

                      จึงต้องใช้ทั้งอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตยคือมีผู้อื่นส่วนใหญ่คอบควบคุมอยู่ด้วยเป็นสองระดับ
                      ธรรมในการปกครองเช่นทศพิธราชธรรมและอปริหานิยธรรม รวมทั้งธรรมที่กำกับการปกครอง
                      แบบอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตยนั้นมิใช่ใช้แก่พระราชาเท่านั้น ข้าราชการที่ปกครองในระดับ

                      ถัดๆไปก็ต้องยึดหลักธรรมดังกล่าวด้วย ธรรมดังกล่าวจึงมิใช่ธรรมของผู้ปกครองเท่านั้น แต่เป็น
                      ธรรมในการปกครองและการปกครองนั้นเป็นแบบที่เรียกว่า การปกครองโดยธรรม


                         ธรรมาภิบาล


                            ในปัจจุบันเรามีการพูดถึงหลักธรรมาภิบาล ราวกับเป็นธรรมในการปกครองและการบริหาร

                      จัดการต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพที่สุด แต่หากพิจารณาแล้วหลักดังกล่าวเป็นหลักที่ไม่เชื่อถือ
                      ในบุคคล ซึ่งต่างกับศีลธรรมที่มุ่งสร้างบุคคลให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ธรรมาภิบาลก็เช่นเดียวกัน
                      กฎหมายหรือจารีตประเพณีที่ควบคุมได้ดีเมื่อคนมีความเชื่อถือศรัทธา แต่ไม่สามารถสร้างความ

                      เชื่อถือศรัทธาได้ กรณีคนที่ไม่เชื่อถือศรัทธาก็สามารถอ้างสิ่งเหล่านั้นหรือแสดงว่าปกครองหรือ
                      บริหารตามหลักเช่นนั้นๆได้ ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยสามารถปกปิดหรือ

                      สร้างหลักการกฎระเบียบที่เอื้อต่อการทำเช่นนั้นได้

                            คนไทยในอดีตนับถือพระพุทธศาสนา ได้รับการอบรมตั้งแต่เด็กให้รู้บาปบุญคุณโทษ ต่างกับ

                      ปัจจุบันที่ขาดความศรัทธาในธรรมและเห็นการทำชั่วเป็นเรื่องปกติมีความเห็นไปในทางที่ว่า แม้
                      ขายชาติก็ไม่เป็นไรขอให้ได้ผลประโยชน์ การสร้างคุณธรรมในคนมีน้อย จนต้องพึ่งแต่เครื่องมือ

                      ภายนอกเช่น ธรรมาภิบาลหรือกฎหมาย ซึ่งถ้าหากคนเป็นคนดี ธรรมาภิบาลหรือกฎหมายก็แทบ
                      ไม่จำเป็น เพราะธรรมาภิบาลก็ตาม กฎหมายก็ตาม จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อคนเป็นคนดีโดย
                      นิสัยสันดานมิใช่เพราะถูกบังคับควบคุม แต่ถ้าคนเลวธรรมาภิบาลทุกข้อก็เป็นสิ่งเลี่ยงได้ ละเมิด

                      ได้ และใช้เป็นเครื่องมือฟอกสิ่งสกปรกที่กระทำเพื่อให้ตัวดูบริสุทธิ์ได้ หากไม่มีธรรมกำกับ ไม่ว่า
                      ธรรมาภิบาลหรือคนก็เป็นสิ่งที่ซื้อได้เสมอ สังคมไทยปัจจุบันเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการทำและ

                      ยอมรับความชั่วเช่นนี้                                                                              เอกสารประกอบการอภิปราย
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109