Page 166 - kpi17527
P. 166
ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่
2559
3 อิทธิพลของระบบราชการ : ปัญหาอุปสรรค
ภาครัฐที่ยังยึดหลักการบริหารตามแนวคิดของระบบราชการ (Bureaucracy)
โดยที่มีโครงสร้างองค์กรมีขนาดใหญ่ มีข้าราชการจำนวนมาก มีสายบังคับบัญชา
ที่ยาว มีกฏระเบียบมาก ในขณะที่ความต้องการของประเทศและประชาชน
มีความซับซ้อนมากขึ้น เป็นเสมือนระเบิดเวลาที่นำไปสู่ปัญหาต่างๆ หรืออาจจะ
เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ และการเมืองอันเป็นผลมาจากความ
อ่อนแอของระบบราชการ อันที่จริงตามทฤษฎีการจัดแนวทางการบริหารงานตาม
หลักคิดของระบบราชการ ที่ต้องเน้นการดำเนินงานตามสายการบังคับบัญชาเป็น
ลำดับขั้น การยึดถือกฎระเบียบ (Rules) และแบบแผนการทำงาน (Guidelines)
อย่างเคร่งครัด การจัดสรรงบประมาณและการดำเนินงานโดยการสั่งการจาก
ส่วนกลาง ซึ่งเป็นหลักการที่มุ่งเน้นให้เกิดความถูกต้องเป็นธรรม มีมาตรฐาน
การดำเนินงาน ป้องกันความผิดพลาด และสามารถตรวจสอบได้ เป็นหลักการที่ดี
1 และเคยใช้ได้ดีมาก่อนในสังคมยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่เมื่อเศรษฐกิจ
และสังคมมีการเปลี่ยนแปลง ระบบการบริหารราชการเช่นนี้ส่งผลให้เกิดปัญหา
หลายประการกับประเทศหรือองค์กรที่บริหารงานตามระบบราชการ สำหรับระบบ
ราชการไทย การบริหารงานตามระบบราชการส่งผลให้เกิดปัญหาที่สำคัญสรุปได้
6 ประเด็นคือ
(1) ความอ่อนด้อยและไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการเกิดจากปัจจัย
และสาเหตุหลายประการ เริ่มตั้งแต่เรื่องเป้าหมายการทำงานของ
แต่ละหน่วยงานในระบบราชการยังขาดความชัดเจน ทำให้ไม่สามารถ
วัดผลสัมฤทธิ์ของงานได้ กฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ของกระทรวง
ทบวง กรมมีกำหนดไว้กว้างๆ ทำให้หน่วยงานต่างๆ มีโอกาสขยายงาน
จนเกิดปัญหาความซ้ำซ้อน หน่วยงานแต่ละหน่วยมุ่งแต่จะทำงานของ
หน่วยงานให้เสร็จสิ้นโดยไม่ใคร่ให้ความสำคัญในเรื่องการประสานงาน
หรือบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ มีระบบการทำงานเป็นแนวดิ่ง
รวมศูนย์การบริหารงานไว้ที่ส่วนกลาง มีกฎระเบียบและขั้นตอนมาก
ขาดความยืดหยุ่น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ขาดการ
สนับสนุนงบประมาณที่จะนำอุปกรณ์เทคโนโลยีทันสมัยมาใช้
สถาบันพระปกเกล้า