Page 550 - kpi17968
P. 550
539
การปกครองไตรอธิปัตย์ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการที่ให้
อำนาจทั้งสามฝ่ายต่างมีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะตรวจสอบถ่วงดุลอีกสองฝ่ายได้
การจำกัดอำนาจตุลาการให้อยู่กับภารกิจในการตีความกฎหมายที่มีลักษณะ
วางเฉยอย่างศาลฝรั่งเศสหรือศาลอังกฤษย่อมเป็นการตัดรอนความเข้มแข็งของ
ฝ่ายตุลาการในการปกครองไตรอธิปัตย์ อำนาจตรวจสอบของฝ่ายตุลาการ
(Judicial review) ที่ได้รับสถาปนาในคดี Marbury v. Madison
จึงค้ำจุนและยกอำนาจตุลาการให้ขึ้นมาเท่าเทียมกับอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจ
บริหารเพื่อให้ทั้งสามอำนาจสามารถคานอำนาจและถ่วงดุลซึ่งกันและกันได้อย่าง
สัมฤทธิผล
ระบบ Judicial review และ Bill of Rights แสดงถึงอิทธิพล Higher
law ของหลักนิติธรรมในสหรัฐที่ทำให้แนวคิดของผู้พิพากษาสหรัฐเกี่ยวกับความ
สัมพันธ์ระหว่างฝ่ายตุลาการกับฝ่ายนิติบัญญัติแตกต่างจากแนวคิดของผู้พิพากษา
อังกฤษ ในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองโดย
ฝ่ายตุลาการ แม้ว่ากฎหมายทั้งสองประเทศพัฒนามาจากหลัก ultra vires
เหมือนกันก็ตาม แต่แนวคิดของผู้พิพากษาอังกฤษที่คิดว่าฝ่ายตุลาการเป็นผู้รับใช้
ฝ่ายนิติบัญญัติในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทาง
ปกครองของศาลอังกฤษ ผู้พิพากษาอังกฤษคิดว่าศาลทำหน้าที่ช่วยเหลือฝ่าย
นิติบัญญัติโดยเข้าไปควบคุมตรวจสอบฝ่ายปกครองให้ใช้อำนาจในขอบเขตที่ฝ่าย
นิติบัญญัติกำหนดไว้ ตรงกันข้ามกับแนวคิดของผู้พิพากษาอังกฤษ ผู้พิพากษา
สหรัฐไม่เคยคิดว่า ศาลเป็นผู้รับใช้ฝ่ายนิติบัญญัติ การตรวจสอบ ความชอบด้วย
กฎหมายของการกระทำทางปกครองโดยฝ่ายตุลาการ ศาลไม่ได้เข้ามาช่วยเหลือ
ฝ่ายนิติบัญญัติ แต่เข้ามาช่วยเหลือปัจเจกชนที่สิทธิเสรีภาพได้รับผลกระทบจาก
การกระทำของหน่วยงานทางปกครองที่สร้างขึ้นมาโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ศาลสหรัฐ
ตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองเพราะไม่ไว้ใจฝ่าย
นิติบัญญัติและหน่วยงานทางปกครองของฝ่ายบริหารที่สร้างขึ้นมาโดยฝ่าย
นิติบัญญัติ ผลของแนวคิดที่แตกต่างกันจึงทำให้ศาลสหรัฐตรวจสอบความชอบ
ด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองในขอบเขตที่กว้างกว่าศาลอังกฤษ
บทความที่ผานการพิจารณา