Page 570 - kpi17968
P. 570
559
รวงสุข, สัมภาษณ์, 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556) จากจุดเริ่มต้นที่ถูกปิดกั้น
ข้อมูลข่าวสารหลายครั้งจนตระหนักได้ว่าพวกเขาไม่ได้รับการปฏิบัติที่เป็น
ธรรม หน่วยงานของรัฐบางแห่งที่ปฏิเสธความรับผิดชอบในการชี้แจง
ข้อมูลข่าวสารแล้วยังอ้างความชอบธรรมเกี่ยวกับนโยบายของรัฐที่มุ่งเน้น
การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ ในสายตาของหน่วยงานของรัฐและ
สังคมทั่วไป พวกเขาถูกมองว่าความพยายามในการสืบค้นข้อเท็จจริงและ
การเคลื่อนไหวคัดค้านเป็นเพียงผู้ขัดขวางโครงการพัฒนาของรัฐ พวกเขา
จึงมีนิติสำนึกในอีกรูปแบบหนึ่งคือการเรียนรู้ที่จะใช้กฎหมาย โดยเฉพาะ
รัฐธรรมนูญ เพื่อจะต่อสู้กับหน่วยงานรัฐที่เป็นทั้งผู้กำหนดนโยบายและ
ผู้ใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการ ในขณะเดียวกันหากว่าเจ้าหน้าที่รัฐหรือ
หน่วยงานรัฐนำกฎหมายลำดับรองมาบังคับใช้กับพวกเขา ซึ่งพวกเขารู้สึก
ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม สิ่งที่พวกเขากระทำก็คือยอมที่จะดื้อแพ่งต่อ
กฎหมาย ได้แก่ การชุมนุมปิดถนนที่สี่แยกบ่อนอก คดี “ล้มโต๊ะจีน”
หรือแม้กระทั่งปิดล้อมสถานที่ราชการเพื่อเจรจาและยื่นข้อเรียกร้อง
การเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ พวกเขายอมรับว่า มีความเสี่ยงที่จะถูกจับกุม
ดำเนินคดี ซึ่งเป็นการสะท้อนนิติสำนึกในรูปแบบของการต่อต้าน
กฎหมาย นิติสำนึกทั้งสามรูปแบบนี้ถูกนำมาใช้ในแต่ละสถานการณ์คู่ขนาน
กันไปเพื่อการเรียกร้อง ความยุติธรรมในสิทธิชุมชน โดยในที่นี้ ขอยก
ตัวอย่างการเคลื่อนไหวของชาวบ้านบางเหตุการณ์ที่มีการนำกฎหมาย
มาใช้เพื่อตอบโต้หน่วยงานของรัฐ อันแสดงให้เห็นถึงการเรียกร้องสิทธิใน
ฐานะพลเมืองที่ใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากการศึกษาหนังสือหลายฉบับที่กลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-
บางสะพานเขียนขึ้นมาเพื่อยื่นร้องเรียนไปยังสถานที่ราชการหลายแห่ง
ล้วนแต่อ้างรัฐธรรมนูญที่ได้รับรองสิทธิของพวกเขาไว้ ยกตัวอย่างเช่น
หนังสือกลุ่มผู้คัดค้าน ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2540 ถึง อบต. สรุปสาระ
สำคัญได้ว่า ตามกฎหมายมาตราที่ 59 ซึ่งมีข้อความโดยย่อว่าบุคคลย่อม
ได้รับข้อมูลคำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ...
ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใด ที่อาจมีผล
บทความที่ผานการพิจารณา