Page 572 - kpi17968
P. 572
561
โรงไฟฟ้าถ่านหิน เนื่องจากประชาชนไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการตั้งแต่
เริ่มต้น มารับรู้เมื่อมีการก่อสร้างโครงการ หรือเมื่อทำสัญญากันแล้ว จากการ
พิจารณาหนังสือหลายฉบับของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-บางสะพาน
ดังกล่าวข้างต้นล้วนแสดงให้เห็นถึงการใช้รัฐธรรมนูญในการเคลื่อนไหวต่อสู้
คัดค้านอันเป็นการยึดหลักนิติรัฐ ซึ่งถือกฎหมายเป็นใหญ่
ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูดและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในสมัย
นั้นได้มีหนังสือถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบขอให้เปิดเผยสัญญาโครงการโรงไฟฟ้า
ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.
2540 และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 58 แต่ไม่ได้รับความ
ร่วมมือ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ้างว่าเป็นสัญญาระหว่างรัฐและเอกชน ที่มี
เงื่อนไขบังคับห้ามเปิดเผยข้อมูล “เราขอดูสัญญาไม่ได้ เขาอ้างว่าเกี่ยวกับความ
มั่นคง ทั้งที่กฎหมายบอกว่าดูได้ แต่จริง ๆ เราดูไม่ได้หรอก” (อิสรา แก้วขาว,
สัมภาษณ์, 11 กรกฎาคม 2555) ในความเป็นจริง สิ่งที่ชาวบ้านเรียกร้องนั้น
ถูกต้องตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 โดยข้อมูล
ข่าวสารของราชการที่ได้รับการยกเว้นมิให้เปิดเผย ได้แก่ ข้อมูลความมั่นคงและ
ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ สัญญาฉบับนี้ถือว่าเป็นประโยชน์ของประเทศชาติ จึงไม่มี
เหตุอันใดที่จะต้องปิดบังข้อมูล ความยุติธรรมที่พวกเขาได้รับจึงไม่เท่าเทียมกันกับ
กลุ่มทุนที่มีรัฐให้การสนับสนุน
แม้ว่า พ.ศ. 2546 คณะรัฐมนตรีจะมีมติยกเลิกการก่อสร้างโครงการ
โรงไฟฟ้าถ่านหินที่บ่อนอก-บ้านกรูด แต่กลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-บางสะพานยังคง
เฝ้าระวังชุมชนของพวกเขา โดยการจัดประชุมทุกวันจันทร์เพื่อติดตามความ
เคลื่อนไหวหน่วยงานภาครัฐ กลุ่มทุน และในเวลาไม่ช้านาน ประวัติศาสตร์ได้ซ้ำ
รอยเดิม เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ นโยบาย
อุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น (โรงถลุงเหล็ก) ในพื้นที่ตำบลแม่รำพึง อำเภอ
บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชาวบ้านทราบข่าวว่ารายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) โรงถลุงเหล็ก
ผ่านความเห็นชอบโดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องแล้ว พวกเขาเรียกร้องให้
เปิดเผย EIA แต่หน่วยงานของรัฐไม่ให้ความร่วมมือ อย่างไรก็ดี ชาวบ้าน
บทความที่ผานการพิจารณา