Page 608 - kpi17968
P. 608
597
1. การสร้างรัฐธรรมนูญให้มีความทนทานเมื่อประชาชนหยุดต่อสู้และ
ยอมรับมันในทางปฏิบัติ
2. การสร้างรัฐธรรมนูญจะยั่งยืนเมื่อพวกเขาเติมเต็มสิ่งที่ประชาชน
คาดหวังในทางปฏิบัติ
3. การสร้างรัฐธรรมนูญจะเป็นที่ยอมรับเมื่อประชาชนหยุดต่อสู้ และ
จะเริ่มต้นต่อสู้อีกครั้งภายใต้กฎหมายและความหมายใหม่ จนกว่าจะนำไปสู่การ
ยอมรับใหม่อีกครั้ง
4. การสร้างรัฐธรรมนูญกลายเป็นที่ยอมรับเมื่อการต่อสู้เหนือความหมาย
อื่น กลายมามีความสำคัญต่อการตัดสินใจโต้เถียงรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน
กล่าวโดยสรุปผู้ยึดถือแนวคิดเจตนารมณ์นิยมใหม่จะมองรัฐธรรมนูญ
ในลักษณะที่เป็นพลวัตร สามารถปรับตัวได้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
ไปตามบริบทและสภาพแวดล้อมความคิดของคนในสังคม และทำให้รัฐธรรมนูญ
มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคงผ่านกระบวนการโต้เถียงบนพื้นที่สาธารณะใน
ช่วงเวลานั้นๆ
อย่างไรก็ตามการตีความรัฐธรรมนูญด้วยแนวคิดเจตนารมณ์นิยมใหม่ ได้มี
ผู้ตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการเกี่ยวกับข้อจำกัดและพึงระวังของแนวคิดนี้ กล่าวคือ
การตีความรัฐธรรมนูญ คือการแก้ปัญหาประเด็นเรื่องกฎหมายให้สังคมดำเนิน
ต่อไปได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย (Strauss, 2010,
pp. 46-49) ดังนั้นมันจึงเป็นคนละเรื่องกัน
นอกจากนี้การมอบอำนาจให้ผู้พิพากษาหรือศาลตีความกฎหมาย
รัฐธรรมนูญโดยพิจารณาถึงความต้องการของสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องพึงระวัง
เพราะประเด็นโต้เถียงสาธารณะโดยมากจะถูกกำหนดโยชนชั้นนำทางสังคม
รวมถึงเมื่อกลายเป็นประเด็นโต้เถียงบนพื้นที่สาธารณะ ไม่ได้หมายความว่าทุกคน
จะมีพื้นที่นำเสนอความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน จะมีบางกลุ่มเท่านั้นที่มีสิทธิที่จะ
นำเสนอความเห็นได้มากกว่า (เสียงดังกว่า) เช่น ความคิดของนักกฎหมายชื่อดัง
บทความที่ผานการพิจารณา