Page 610 - kpi17968
P. 610
599
1. วิธีคิดแบบเจตนารมณ์นิยมเรียกร้องจากตุลาการและนักกฎหมายให้เป็น
นักประวัติศาสตร์ที่ต้องสืบค้นเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญ
ที่มีชีวิตเรียกร้องตุลาการและนักกฎหมายให้เป็นตุลาการและนักกฎหมาย
2. รัฐธรรมนูญที่มีชีวิตเปิดโอกาสให้ศาลสามารถวินิจฉัย/ตัดสินเกี่ยวกับ
ความคิดด้านนามธรรมที่ดี เช่น ความยุติธรรม นโยบายที่ดี ได้ตามยุคสมัยนั้นๆ
3. รัฐธรรมนูญที่มีชีวิตคือสิ่งที่พวกเราในยุคปัจจุบันสร้างมันเองอย่างแท้จริง
โดยไม่จำเป็นต้องยอมรับกฎเกณฑ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญที่อาจจะไม่มีชีวิตอยู่แล้ว
4. รัฐธรรมนูญที่มีชีวิตมีลักษณะที่ตรงไปตรงมา กล่าวคือ ผู้พิพากษา
สามารถจะใช้ดุลยพินิจของตนพิจารณาเกี่ยวกับความยุติธรรมและนโยบายสังคม
ได้
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น แนวคิดแบบรัฐธรรมนูญที่มีชีวิตยังเห็น
ว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญตามการวินิจฉัยของศาลเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า
การแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญโดยตรง ด้วยเหตุผล 4 ประการ (Ibid.,
pp. 115-139) คือ
1. หลายครั้งเนื้อหาที่เขียนในรัฐธรรมนูญไม่เปลี่ยน แต่สาระในรัฐธรรมนูญ
เปลี่ยนแปลง
2. ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบเป็นทางการไม่เกิดขึ้น
แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นอยู่เสมอ
3. เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น บ่อยครั้งที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ทำ
อะไรนอกจากอนุมัติความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญที่มีชีวิตอยู่แล้ว
กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญที่มีชีวิตผลิตการเปลี่ยนแปลง
ที่เป็นจริงมากกว่าทางอื่น
4. แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าสังคมยังไม่เปลี่ยน
การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญข้างต้นก็บังคับใช้ไม่ได้ (สังคมไม่ยอมรับ) กล่าวอีก
บทความที่ผานการพิจารณา