Page 611 - kpi17968
P. 611
600
นัยหนึ่งคือ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นก็เพราะรัฐธรรมนูญที่มีชีวิตไม่ใช่การ
เปลี่ยนแปลงที่ตัวเอกสาร (รัฐธรรมนูญ)
อย่างไรก็ตามข้อวิพากษ์สำคัญที่แนวคิดรัฐธรรมนูญที่มีชีวิตถูกวิจารณ์คือ
การเปิดโอกาสให้ผู้พิพากษาเป็นผู้วินิจฉัยรัฐธรรมนูญโดยให้สิทธิขาด อาจจะ
กลายเป็นกระบวนการที่นำไปสู่ความเลวร้ายและไม่เป็นธรรม กล่าวคือ แนวคิดนี้
สามารถจะกลายเป็นการให้สิทธิแก่คนกลุ่มน้อยคัดค้านเสียงส่วนใหญ่ กลายเป็น
ทรราชย์ของเสียงข้างน้อยแทนที่จะปกป้องพิทักษ์สิทธิเสียงข้างน้อย ซึ่งเป็นการ
ทำลายหลักการและค่านิยมที่สำคัญของประชาธิปไตย และการตรวจสอบโดยการ
วิพากษ์วิจารณ์คำพิพากษาเป็นการตรวจสอบภายหลังจากคำวินิจฉัยได้ประกาศ
และผลบังคับใช้ไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นท้ายที่สุดอำนาจจึงอยู่ที่ผู้พิพากษาเพียง
ผู้เดียวในการกำหนดความเป็นไปของรัฐธรรมนูญ
เมื่อพิจารณาถึงแนวคิดทั้ง 3 แนวคิดข้างต้น มีสิ่งที่เหมือนกันระหว่าง
3 แนวคิดข้างต้นคือ ท้ายที่สุดทั้ง 3 แนวความคิดไปฝากความคาดหวังไว้กับ
คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในการเข้าถึงศีลธรรมของรัฐธรรมนูญ (moral reading of the
constitution) (Fleming, 2012, pp. 1171-1185) กล่าวคือ ทั้งแนวคิดแบบ
เจตนารมณ์นิยมและรัฐธรรมนูญที่มีชีวิตหวังจะเป็นแนวทางที่จะพิทักษ์รักษาหลัก
การของศีลธรรมเชิงนามธรรมทางการเมือง แต่อ้างอิงศีลธรรมซึ่งมาจากที่มา
คนละชุด เช่น เจตนารมณ์นิยมเดิมเชื่อว่าควรจะย้อนกลับไปหาเจตนารมณ์ของ
ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เจตนารมณ์นิยมใหม่เชื่อว่าควรจะย้อนกลับไปถามหา
เจตนารมณ์ของประชาชนทั้งหมดในปัจจุบันผ่านการโต้เถียงบนพื้นที่สาธารณะ
และรัฐธรรมนูญที่มีชีวิตเชื่อว่าควรจะให้นักกฎหมาย ผู้พิพากษาที่ผ่านการฝึกฝน
ให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้ามาตีความแก้ปัญหาตามบริบทของสังคม
น า การต ามรั ธรรมน บบไ ย
จากการพิจารณาการตีความรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่า
การพยายามเข้าใจรัฐธรรมนูญให้ถูกต้อง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป และในสังคม
ไทย การศึกษาเรื่องศาลรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจตีความรัฐธรรมนูญกลายเป็นที่
สนใจในสังคมตั้งแต่หลังเหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญไทยได้ใช้แนวทางตุลาการ
บทความที่ผานการพิจารณา