Page 629 - kpi17968
P. 629

618




               ที่สามารถผลักดันจนเห็นผลเป็นรูปธรรม เช่นในปี พ.ศ.2558 พบว่ามีการจัด

               ประชุมถึง 2 ครั้งในประเทศไทย ในโอกาสที่ TIJ ร่วมกับกรมคุมประพฤติ
               สถาบันการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดของสหประชาชาติ
               ภาคพื้นเอเชียและตะวันออกไกล หรือ UNAFEI และสำนักงานฟื้นฟูผู้กระทำผิด

               ของประเทศญี่ปุ่นร่วมกันจัดสัมมนาสนับสนุนมาตรการที่มิใช่การคุมขังภายใต้
               กระบวนการยุติธรรมในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะช่วยลดจำนวนประชากรผู้ต้องขัง
               และ ลดผลทางจิตใจหรือมลทินที่เกิดจากการจำคุก รวมถึงการสนับสนุนแนวทาง

               การส่งเสริมให้ผู้กระทำผิดกลับคืนสู่สังคมได้อีกครั้ง รวมถึง สาระสำคัญที่เกิดจาก
               การประชุมทางวิชาการเรื่อง “ผู้หญิง : อาชญากร ตัวประกัน หรือเหยื่อ
               ในกระบวนการยุติธรรม ภายใต้วาทกรรมยาเสพติด” สำหรับผู้พิพากษา

               ศาลอุทธรณ์และผู้ช่วยผู้พิพากษารุ่นที่ 64 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2558 ณ
               ห้องประชุมโรงแรมในทอนบุรี บีช รีสอร์ท ปรากฏว่านายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ
               รองปลัดกระทรวงยุติธรรมได้กล่าวถึงอุปสรรคของข้อกำหนดกรุงเทพฯ

               (Bangkok Rules) ว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้การอนุวัติตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ
               ไม่บรรลุผลคือการมีปริมาณผู้ต้องขังในเรือนจำมาก หรือที่เรียกว่า ล้นเรือนจำ
               โดยเฉพาะผู้ต้องขังหญิง เนื่องด้วยเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับข้อกำหนดกรุงเทพฯ

               เมื่อพิจารณาสถิติคดีของผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำแล้วพบว่า โดยส่วนใหญ่ที่ถูก
               จับกุมดำเนินคดีเนื่องมาจากกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด....” นอกจากนี้
               นายเอกชัย ชินณพงศ์  ประธานศาลอุทธรณ์ ในฐานะประธานในพิธีเปิดการ

               ประชุมเรื่อง “เกณฑ์การใช้ดุลยพินิจของศาลในการลงโทษในคดียาเสพติด”
               ได้กล่าวในงานเดียวกันนี้ว่า “การจัดประชุมครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก
               เพราะเป็นการให้ความรู้และมุมมองใหม่แก่ท่านผู้พิพากษา การที่จะพิพากษา

               ลงโทษผู้กระทำผิดรายใดนอกจากมิติด้านกฎหมายที่ผู้พิพากษาต้องยึดเป็นหลัก
               สำคัญแล้วยังคงต้องมีมิติด้านสังคมและอื่นๆประกอบด้วย ปัจจุบันศาลยุติธรรม
               สนับสนุนให้ท่านผู้พิพากษานำมิติด้านอื่นๆ เข้ามาประกอบหลักของกฎหมายใน

               การทำคำพิพากษาไม่ว่าจะเป็นคดีประเภทใดก็ตาม ยาเสพติดเป็นปัญหาทาง
               สังคมประการหนึ่ง ในแต่ละปีคดียาเสพติดได้เข้ามาสู่การพิจารณาของศาล
               อุทธรณ์เพิ่มมากขึ้น ผู้กระทำผิดไม่ว่าจะเป็น “ผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่” หรือ
               “ผู้ค้ายาเสพติดรายย่อย” เมื่อถูกจับกุมดำเนินคดีต้องถูกตัดสินจำคุกตาม







                    บทความที่ผานการพิจารณา
   624   625   626   627   628   629   630   631   632   633   634