Page 194 - kpi18886
P. 194
186
กลุ่มอำนาจเก่าหรือฝ่ายอนุรักษ์นิยมมาเกือบหนึ่งปีหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
17
การเดินหน้าประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
โดยเฉพาะการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก
ถูกกำหนดขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 อย่างไรก็ตาม ในระหว่าง
ที่กระบวนการจัดการเลือกตั้งกำลังดำเนินการอยู่ ได้เกิดมีเหตุการณ์สำคัญทาง
การเมืองขึ้นคือการก่อการกบฏครั้งใหญ่จนนำไปสู่การสู้รบนองเลือดระหว่าง
ทหารไทยด้วยกันเอง และถือว่าเป็นการกบฏครั้งแรกในระบอบประชาธิปไตย
ที่ต่อมาภายหลังได้มีการเรียกเหตุการณ์กบฏในครั้งนี้ว่า “กบฏบวรเดช”
เนื่องจากเป็นการก่อกบฏที่มีพลเอกพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า
ทำการก่อกบฏเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดยมีเหตุผลสำคัญคือความไม่
พอใจต่อการบริหารบ้านเมืองในสมัยนั้น ผลของเหตุการณ์ดังกล่าวคือชัยชนะ
18
ของรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา แต่ได้ทำให้ทหารไทยและประชาชนเสียชีวิต
เลือดเนื้อ และทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก เมื่อเหตุการณ์สงบลง รัฐบาลโดย
พระยาพหลพลพยุหเสนานายกรัฐมนตรีได้ประกาศให้การเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรดำเนินต่อไปจนประสบความสำเร็จ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476
เป็นการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียว
ของประเทศไทย ซึ่งปรากฏว่ามีผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียง 1,773,532 คน
19
คิดเป็นร้อยละ 41.45 สำหรับผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งชุดแรกจำนวน
78 คนนั้นมีบุคคลที่ในเวลาต่อมากลายเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น
นายเลียง ไชยกาล และนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจาก
จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น หลังการเลือกตั้ง ได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่
20
โดยเสียงส่วนใหญ่ของสภาได้เลือกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี
อีกสมัยหนึ่งนับเป็นคณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ของประเทศไทย แต่เป็นรัฐบาลชุด
17 นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2549). อ้างแล้ว, หน้า 30.
18 เรื่องเดียวกัน, หน้า 31-32.
19 เชาวนะ ไตรมาศ. (2550). ข้อมูลพื้นฐาน 75 ปีประชาธิปไตยไทย 2475-2550.
กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา, หน้า 138.
20 นรนิติ เศรษฐบุตร. (2555). อ้างแล้ว, หน้า 298-299.
การประชุมกลุมยอยที่ 1