Page 195 - kpi18886
P. 195
187
แรกที่เข้าสู่อำนาจทางการเมืองโดยการเลือกของสภาผู้แทนราษฎรที่มาจาก
การเลือกตั้ง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงการรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน
พ.ศ. 2500 ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของ
การเมืองการปกครองไทย (ดังจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไปนั้น) ประเทศ
ไทยได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปอีก 8 ครั้ง
และมีรัฐบาลที่มีนายกรัฐมนตรีเข้าสู่อำนาจทางการเมืองการปกครองโดยการเลือก
ของสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น 17 ชุด
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480
จัดขึ้นหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี การเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงครั้งแรกของไทย ใช้วิธี
การแบ่งเขตเขตละ 18 คน อัตราส่วนราษฎร 200,000 คน ต่อสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร 1 คน มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 6,123,239 คน และมีสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรรวมทั้งสิ้น 91 คน ผลปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 2,462,535
21
คน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 40.22 ภายหลังการเลือกตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนา
ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นนายก-รัฐมนตรีต่อไปอีกวาระหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รัฐบาล
พระยาพหลพลพยุหเสนาชุดนี้ดำรงตำแหน่งอยู่ได้เพียงปีเศษก็เกิดการยุบสภา
ผู้แทนราษฎรโดยมีสาเหตุจากการที่รัฐบาลแพ้เสียงในสภาในกรณีนายถวิล อุดล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดกับคณะ ขอให้รัฐบาลเสนอรายละเอียด
เกี่ยวกับงบประมาณทั้งรายรับและรายจ่ายให้ชัดเจนในขั้นพิจารณารับหลักการ
แต่รัฐบาลไม่เห็นด้วยและแพ้เสียงในสภา การยุบสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ
22
วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 ดังกล่าวส่งผลให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรใหม่ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2581 นับเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
ครั้งที่ 3 ของประเทศไทย ในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบ
แบ่งเขต ใช้อัตราราษฎร 200,000 คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน
มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 91 คนเท่าเดิม โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนน
23
2,210,332 คน คิดเป็นร้อยละ 35.03 และภายหลังการเลือกตั้งพระยาพหล-
21 เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 138.
22 นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 72.
23 เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 138.
การประชุมกลุมยอยที่ 1