Page 215 - kpi18886
P. 215
207
จากจำนวนพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมด 16 พรรค
โดยพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด คือ พรรค
ประชาธิปัตย์ 100 ที่นั่ง ส่วนพรรคการเมืองที่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอันดับ
รองๆ ลงมาที่สำคัญ ได้แก่ พรรคชาติไทย 63 ที่นั่ง พรรคกิจสังคม 53 ที่นั่ง และ
พรรคสหประชาธิปไตย 34 ที่นั่ง ภายหลังการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ พรรค
ชาติไทย พรรคกิจสังคมซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภามากที่สุดสามอันดับ
แรกได้ร่วมกับพรรคราษฎรซึ่งมีที่นั่งในสภามากเป็นอันดับที่ 7 จำนวน 18 ที่นั่ง
86
ลงมติในสภาเลือกพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม
การเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ซึ่งนับเป็นสมัยที่ 3 มีระยะเวลาในการทำงานอยู่ได้ไม่ถึงสองปีก็สิ้นสุดลงเมื่อ
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 29 เมษายน
พ.ศ. 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ โดยสมาชิกพรรค
ที่รวมตัวกันในนาม “กลุ่ม 10 มกรา” ลงมติไม่สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติ
ลิขสิทธิ์ที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติ
ไม่ผ่านความเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์จึงได้แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัว
จากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล 87
การเลือกตั้งทั่วไปภายหลังการประกาศยุบสภาของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
กำหนดในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้ง
มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 357 คน อยู่ในวาระ 4 ปี โดยอาศัยวิธี
การเลือกตั้งโดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) และใช้อัตราส่วนราษฎร
150,000 คน ต่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน และกฎหมายบังคับให้
ผู้สมัครทุกคนต้องลงสมัครในนามพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองแต่ละพรรค
ต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรทั้งหมด ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนน
88
86 เพิ่งอ้าง, หน้า 83.
87 นรนิติ เศรษฐบุตร. (ม.ป.ป.). “29 เมษายน พ.ศ. 2531.” ฐานข้อมูลการเมือง
การปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก <http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=
29_เมษายน_พ.ศ._2531> เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2559.
88 เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 138.
การประชุมกลุมยอยที่ 1