Page 210 - kpi18886
P. 210
202
หนังสือพิมพ์ถึง 22 ครั้ง รวมถึงมีนักศึกษา ปัญญาชน จำนวนมากที่มีความคิด
ทางการเมืองแตกต่างจากรัฐบาลหลบหนีเข้าป่าไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์
69
แห่งประเทศไทย (พคท.) เพื่อต่อสู้กับรัฐบาล แม้ว่ารัฐบาลของนายธานินทร์
กรัยวิเชียร จะดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อคลี่คลายปัญหาแต่ความเดือดร้อนวุ่นวาย
ในบ้านเมืองต่างๆ มิได้ยุติ ในที่สุดคณะนายทหารในสภาปฏิรูปการปกครอง
แผ่นดินชุดเดิมที่นำโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารอีกครั้ง
70
ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520
ภายหลังการยึดอำนาจได้สำเร็จ คณะรัฐประหารได้มอบหมายให้พลเอก
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 และประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง
ราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 แทน โดยธรรมนูญการปกครองฉบับดังกล่าว
กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภาและสภาร่างรัฐธรรมนูญ
พร้อมกับก่อตั้งสภานโยบายแห่งชาติขึ้นมาให้มีฐานะเหนือกว่าสภานิติบัญญัติ
71
แห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี หลังจากดำรงตำแหน่งเป็นเวลากว่า 1 ปี รัฐบาล
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้สิ้นสุดลง เมื่อมีการการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2521 และ
กำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 22
เมษายน พ.ศ. 2522 72
(4) การได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งใน “ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ”
(พ.ศ. 2521-2531)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ได้นำระบบสองสภา
กลับมาใช้ในการเมืองการปกครองของไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยกำหนดให้รัฐสภา
69 เพิ่งอ้าง.
70 เพิ่งอ้าง.
71 นิพัทธ์ สระฉันทพงษ์. (ม.ป.ป.ก). อ้างแล้ว.
72 วิจิตรา ประยูรวงษ์. (ม.ป.ป.). “เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์.” ฐานข้อมูลการเมือง
การปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก < http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=
เกรียงศักดิ์_ชมะนันทน์> เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2559.
การประชุมกลุมยอยที่ 1