Page 216 - kpi18886
P. 216
208
เสียงเลือกตั้ง 16,944,931 คน คิดเป็นร้อยละ 63.56 มีพรรคการเมืองที่มี
สมาชิกได้รับเลือกตั้ง 15 พรรค จากจำนวนพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ทั้งหมด 19 พรรค โดยพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับการเลือกตั้งเข้ามา
มากที่สุด คือ พรรคชาติไทย 87 ที่นั่ง ส่วนพรรคการเมืองที่ได้สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรในอันดับรองๆ ลงมาที่สำคัญ ได้แก่ พรรคกิจสังคม 54 ที่นั่ง พรรค
ประชาธิปัตย์ 48 ที่นั่ง พรรครวมไทย 35 ที่นั่ง พรรคประชากรไทย 31 ที่นั่ง
89
การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งของการได้มาซึ่ง
ตัวแทนผู้ใช้อำนาจทางการเมืองการปกครองของไทย เนื่องจาก พลเอก เปรม
ติณสูลานนท์ประกาศไม่ยอมรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรจึงได้
ลงมติโดยเสียงข้างมากเลือกพลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) หัวหน้า
พรรคชาติไทยซึ่งมีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุดเป็นนายกรัฐมนตรี นับเป็น
นายกรัฐมนตรีคนแรกภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่เป็นหัวหน้า
พรรคการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และได้รับ
เลือกจากสภาผู้แทนราษฎรให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็นการส่ง
สัญญาณว่ารูปแบบการได้มาซึ่งตัวแทนผู้ใช้อำนาจทางการเมืองภายใต้ระบอบ
ประชาธิปไตยแบบ “ครึ่งใบ” มิใช่รูปแบบที่พึงปรารถนาสำหรับการเมือง
การปกครองไทยในสมัยนั้นอีกต่อไป
(5) การได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การปฏิรูป
(หลังการเลือกตั้งทั่วไป 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2540)
ความพยายามในการประนีประนอมทางอำนาจทางการเมืองการปกครอง
ผ่านการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521
ซึ่งยินยอมให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรโดยตรง มีการจัดตั้งพรรคการเมือง
ลงแข่งขันกันภายใต้รัฐธรรมนูญ และประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในบางระดับ
ในขณะที่ชนชั้นนำจากกองทัพและข้าราชการยังมีโอกาสเข้าไปมีบทบาทครอบงำ
การเมืองผ่านตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญๆ ที่สงวนไว้ให้กับชนชั้นนำข้าราชการ และ
วุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอชื่อ
89 นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 83.
การประชุมกลุมยอยที่ 1