Page 214 - kpi18886
P. 214
206
ประมาณ อดิเรกสาร เป็นหัวหน้าพรรคมีสมาชิกได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด
โดยได้ที่นั่งไปทั้งสิ้น 110 ที่นั่ง รองลงมา ได้แก่ พรรคกิจสังคมที่มีหม่อมราชวงศ์
คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรคได้ 99 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ที่มี
82
นายพิชัย รัตตกุล เป็นหัวหน้าพรรคได้ 56 ที่นั่ง ภายหลังการเลือกตั้ง
พรรคกิจสังคมและพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีที่นั่งในสภามากเป็นอันดับ 2 และ 3
ได้ร่วมมือกับพรรคประชากรไทยและพรรคชาติประชาธิปไตยซึ่งมีที่นั่งในสภา
มากเป็นอันดับ 4 และ 5 เพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสม และได้ลงมติในสภาเลือก
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง 83
การยุบสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 2 โดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
เกิดขึ้นในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภาในการ
ออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก ทำให้รัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ต้องสิ้นสุดลงไปด้วย และต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
ซึ่งกำหนดในรัฐบาลในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 การเลือกตั้ง ครั้งนี้เป็น
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 347 คน และยังคงใช้วิธีการ
เลือกตั้งโดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) ตามอัตราส่วนราษฎร 150,000 คน
ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน เช่นเดียวกับการเลือกตั้งเมื่อปี 2526 สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และกฎหมายบังคับให้
พรรคการเมืองส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน
84
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมด (347 คน)
นอกจากนี้ เนื่องจากการบังคับใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ในบทเฉพาะกาลของได้สิ้นสุดลงแล้ว
85
ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัครทุกคนจึงต้องลงสมัครในนามพรรคการเมืองเท่านั้น
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 16,070,957
คน คิดเป็นร้อยละ 61.43 มีพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้ง 15 พรรค
82 นรนิติ เศรษฐบุตร. (2555). อ้างแล้ว, หน้า 122.
83 นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 80-81.
84 เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 138.
85 นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 82.
การประชุมกลุมยอยที่ 1