Page 219 - kpi18886
P. 219
211
ขัดจังหวะความต่อเนื่องของการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ
การรัฐประหารในปี 2534 และเหตุการณ์นองเลือดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.
2535 จึงมิได้สร้างผลกระทบต่อบทบาทและอิทธิพลของเครือข่ายนักการเมือง
ภูมิภาคในการเลือกตั้งซึ่งยังได้รับการยอมรับให้เป็นช่องทางหลักในการเข้าสู่
อำนาจทางการเมืองการปกครองมากนัก
การเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นสมัยที่
2 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 นั้น นับเป็นการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ
เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งสุดท้ายได้กำหนดเป็นวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535
การเลือกตั้งทั่วไปครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 360 คน
เป็นการเลือกตั้งโดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน 3 คน) ใช้อัตราส่วนราษฎร
ทั้งหมดต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 360 คน อยู่ในวาระ 4 ปี ผู้สมัครทุกคน
ต้องสังกัดพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองแต่ละพรรคต้องส่งสมาชิกลงสมัคร
รับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 120 คน ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า มีผู้ออกมาใช้สิทธิ
96
ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 19,760,377 คน คิดเป็นร้อยละ 62.02 โดยพรรค
ประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีสมาชิกได้รับการเลือกตั้งมากที่สุด จำนวน 79 คน
ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม
พรรคกิจสังคม และพรรคเอกภาพ และนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
97
ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2534 รัฐบาล
ผสมที่มีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีทำงานอยู่ได้ประมาณ 2 ปีกว่า
ก็สิ้นสุดลง เมื่อนายชวน หลีกภัย ตัดสินใจประกาศยุบสภาในวันที่ 19 พฤษภาคม
พ.ศ. 2538 ภายหลังเกิดความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลในกรณี
การอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับปัญหาเรื่องการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรหรือ
ที่รู้จักกันในนาม “การจัดสรรที่ดิน สปก. 4-01” และกำหนดให้มีการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 98
96 เชาวนะ ไตรมาศ. อ้างแล้ว, หน้า 138.
97 นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 86.
98 นรนิติ เศรษฐบุตร. (2555). อ้างแล้ว, หน้า 228.
การประชุมกลุมยอยที่ 1