Page 217 - kpi18886
P. 217

209




                         ในแง่มุมหนึ่ง การประนีประนอมทางอำนาจดังกล่าวได้ส่งผลให้การเลือกตั้ง

                   กลายเป็นวิธีการหลักในการรับรองความชอบธรรมให้แก่การเข้าสู่อำนาจทาง
                   การเมืองการปกครองของผู้นำทางการเมืองไทย ในช่วง พ.ศ. 2521-2531 ดังที่ได้
                   กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตาม ในอีกแง่มุมหนึ่ง การเลือกตั้งสมาชิกสภา

                   ผู้แทนราษฎรที่มีความต่อเนื่อง ควบคู่กับความพยายามผลักดันให้พรรคการเมือง
                   มีความเข้มแข็งและเป็นช่องทางหลักในการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองผ่านการเลือกตั้ง
                   โดยการบังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคเท่านั้น และพรรคการเมือง

                   ต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภา
                   ผู้แทนราษฎรที่พึงมีได้ในแต่ละคราว ได้มีส่วนสำคัญต่อ การก่อรูปและแผ่ขยาย
                   อิทธิพลทางการเมืองของเครือข่ายนักการเมืองในต่างจังหวัด เนื่องจาก

                   พรรคการเมืองที่ต้องการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองการปกครองต้องพึ่งพากลไก
                   ระบบอุปถัมภ์ของผู้นำในพื้นที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักธุรกิจและผู้มีอิทธิพล
                   ในท้องถิ่น ในการระดมเสียงสนับสนุนจากประชาชน และรวบรวมเงินทุนเพื่อชนะ

                                 90
                   ในการเลือกตั้ง  ทำให้นักธุรกิจท้องถิ่นและผู้มีอิทธิพลหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า
                   “เจ้าพ่อ” สามารถควบคุมเครือข่ายนักการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                   ที่เข้ามาพึ่งพาได้มากขึ้น  การเข้ายึดครองอำนาจในพรรคชาติไทยของนายบรรหาร
                                       91
                   ศิลปอาชาและเครือข่ายนักธุรกิจท้องถิ่น ภายหลังการลดบทบาทลง ของพลเอก
                   ชาติชาย ชุณหะวัณ แกนนำกลุ่มซอยราชครูหลังเหตุการณ์รัฐประหารโดย
                   คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในปี 2534 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน

                   ของการแผ่ขยายอิทธิพลของเครือข่ายนักการเมืองในต่างจังหวัดจนสามารถ
                   เข้าครอบครองฐานอำนาจสำคัญในการเมืองระดับชาติได้ 92

                      90   ดู Siripan Noksuan Sawasdee. (2006). Thai Political Parties in the Age of
                   Reform. Bangkok: Institute of Public Policy Studies, Thailand.

                      91    ผาสุก พงษ์ไพจิตร และสังศิต พิริยะรังสรรค์. (2535). รัฐ ทุน เจ้าพ่อท้องถิ่นกับสังคม
                   ไทย. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
                   มหาวิทยาลัย; อัครวิทย์  ขันธ์แก้ว. 2539. นักธุรกิจภูมิภาคกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง:
                   ศึกษากรณีจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
                      92   สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2539). “พรรคชาติไทย จากกลุ่มซอยราชครูถึงกลุ่มเจ้าพ่อ
                   ท้องถิ่น” ใน สังศิต พิริยะรังสรรค์ และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร, บรรณาธิการ. จิตสำนึกและ
                   อุดมการณ์ของขบวนการ ประชาธิปไตยร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง
                   คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 1
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222