Page 213 - kpi18886
P. 213
205
ก็ตาม รัฐบาลของพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์อยู่ในตำแหน่งได้เพียงไม่ถึง 1 ปี
ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้แถลง
ชี้แจงต่อสภาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่รัฐบาลของตนต้องประสบจนยากที่จะบริหาร
ประเทศให้บรรลุตามเป้าหมายได้ และได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
78
ในช่วงท้ายของการชี้แจงดังกล่าวโดยไม่มีการเลือกตั้งใหม่ สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรมีมติเลือกพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แทนในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 79
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ
ไทย 3 สมัย รวมระยะเวลาประมาณ 8 ปีต่อเนื่องกัน โดยไม่ได้ตั้งพรรคการเมือง
ของตัวเอง และไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในอำนาจ พลเอก
เปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรีที่ทำการยุบสภาถึง 3 ครั้ง และต้องเผชิญ
กับความพยายามที่จะยึดอำนาจล้มรัฐบาลถึง 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ การยุบสภา
80
ครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎร
ไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 นำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปซึ่งกำหนดในวันที่
18 เมษายน พ.ศ. 2526
ในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน
324 คน อยู่ในวาระ 4 ปี ใช้วิธีการเลือกตั้งโดยตรงแบบผสม (เขตละไม่เกิน
3 คน) กำหนดอัตราส่วนราษฎร 150,000 คน ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน
นอกจากนี้ กฎหมายยังบังคับให้พรรค การเมืองต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง
ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่พึงมี แต่ผู้สมัคร
ยังไม่จำเป็นต้องสมัครในนามพรรคการเมืองทั้งหมดเพราะอยู่ในช่วงการใช้
บทเฉพาะกาลตามรัฐธรรมนูญ ผลปรากฏว่า มีผู้มาใช้สิทธิ 12,295,339 คน
81
คิดเป็น ร้อยละ 50.76 ผลการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคชาติไทยที่มีพลตรี
78 วิจิตรา ประยูรวงษ์. (ม.ป.ป.). อ้างแล้ว.
79 ปธาน สุวรรณมงคล. อ้างแล้ว, หน้า 194.
80 นรนิติ เศรษฐบุตร. (2555). อ้างแล้ว, หน้า 75.
81 เชาวนะ ไตรมาศ. เรื่องเดียวกัน, หน้า 138.
การประชุมกลุมยอยที่ 1