Page 211 - kpi18886
P. 211

203




                   ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และ

                   วุฒิสภาที่มาจาการแต่งตั้งโดยการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรี โดยข้าราชการ
                   ประจำสามารถเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้อง
                   เป็นสมาชิกรัฐสภา นอกจากนี้ ในบทเฉพาะกาล ยังบัญญัติให้ในวาระแรกวุฒิสภา

                   มีอำนาจเช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎรในการลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร และ
                   ในวาระแรกนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำได้หลังจากนั้น
                   เป็นไม่ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในขณะที่รัฐธรรมนูญ

                   ไม่ได้ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี แสดงให้เห็นว่า
                   ฝ่ายทหารยังต้องการคุมอำนาจทางการเมืองต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพราะไม่ไว้วางใจ
                   ว่าสภาผู้แทนราษฎรจะทำให้เกิดความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาลหรือไม่ จะมีการ

                   วิ่งเต้นแย่งกันเป็นรัฐมนตรีจนเกิดความขัดแย้งวุ่นวายหรือไม่
                                                                      73
                         อย่างไรก็ตาม การจัดวางโครงสร้างทางการเมืองของรัฐธรรมนูญดังกล่าว

                   ได้นำระบอบการเมืองการปกครองของไทยไปสู่รูปแบบที่นักวิชาการเรียกขาน
                                                                          74
                   กันว่าเป็นยุค “ประชาธิปไตยครึ่งใบ (semi-democracy) ” คือเป็นยุคที่
                   การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองการปกครองมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยโดยมีการ

                   จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างสม่ำเสมอถึง 4 ครั้ง ใน พ.ศ.
                   2522 พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2531 ตามลำดับ และทุกครั้ง
                   นายกรัฐมนตรีเป็นบุคคลที่ได้รับการเลือกโดยเสียงข้างมากของสมาชิกสภา

                   ผู้แทนราษฎรเพียงแต่บุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี คือบุคคล
                   ที่เป็นผู้ทรงอิทธิพลในกองทัพ ได้แก่ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ และ
                   พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นแบบแผนเช่นนี้ทุกครั้ง จนกระทั่งภายหลัง

                   การเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

                      73    สุจิต บุญบงการ. อ้างแล้ว, หน้า 44.
                      74   ดู เช่น Case, William F. (1996). “Can the ‘Halfway House’ Stand?
                   Semidemocracy and Elite Theory in Three Southeast Asian Countries.” Comparative
                   Politics 28 (4): 437-464, Chai-anan Samudavanija. (1989). “Thailand: A Stable Semi-
                   Democracy.” In Democracy in Developing Countries, Volume III: Asia, ed. Larry
                   Diamond, Juan J. Linz, and Seymour Martin Lipset. Boulder, CO: Lynne Rienner
                   Publishers, Neher, Clark D. (1988). Thailand in 1987: Semi-Successful Semi-
                   Democracy. Asian Survey 28 (2): 192-201 เป็นต้น




                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 1
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216