Page 221 - kpi18886
P. 221

213




                   ราษฎร 150,000 คน ต่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน ผลการเลือกตั้ง

                   ปรากฏว่า มีผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 24,070,750 คน คิดเป็น
                                 102
                   ร้อยละ 62.42 โดยพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับการเลือกตั้งมากที่สุดคือ
                   พรรคความหวังใหม่ จำนวน 125 คน สภาผู้แทนราษฎรมีมติเลือก พลเอก ชวลิต

                   ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25
                   พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ จัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับ
                   พรรคชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคเสรีธรรม และพรรค

                   มวลชน  แต่รัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธทำงานอยู่ได้เพียงไม่ถึงปีก็เกิด
                          103
                   วิกฤตการณ์เศรษฐกิจในปี 2540 ขึ้น พลเอกชวลิต ยงใจยุทธตัดสินใจลาออกจาก
                   ตำแหน่งในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 สภาผู้แทนราษฎรจึงลงมติเลือก

                   นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่มีสมาชิกในสภาผู้แทนราษฎร
                                                                 104
                   มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทน  โดยรัฐบาลของนายชวน
                   หลีกภัยได้อยู่บริหารประเทศต่อมาจนเกือบจะครบวาระของสภาผู้แทนราษฎร

                   ชุดดังกล่าวก่อนที่จะตัดสินใจ ประกาศยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่
                   6 มกราคม พ.ศ. 2544


                         สิ่งที่น่าสังเกตจากการเลือกตั้งทั่วไปในช่วง พ.ศ. 2535 – 2539 รวม
                   3 ครั้งที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นมาดำรง
                   ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของหัวหน้าพรรค การเมืองที่มีสมาชิกได้รับการเลือกตั้ง

                   เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจำนวนที่มากที่สุดอย่างต่อเนื่องแล้ว รัฐบาล
                   ที่จัดตั้งขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวล้วนต้องอาศัยฐานการสนับสนุนจากสมาชิกสภา
                   ผู้แทนราษฎรที่เป็นเครือข่ายนักการเมืองภูมิภาคแทบทั้งสิ้น โดยปัจจัยสำคัญ

                   ที่ทำให้เครือข่ายนักการเมืองภูมิภาคซึ่งมีพื้นฐานเป็นนักธุรกิจท้องถิ่นและผู้มี
                   อิทธิพลในพื้นที่ที่งานวิชาการจำนวนมากเรียกขานกันว่า “เจ้าพ่อ” สามารถ
                   ก่อเกิดและขยายบทบาททางการเมืองได้อย่างกว้างขวางนั้นกล่าวได้ว่ามีทั้งปัจจัย


                      102   เชาวนะ ไตรมาศ. อ้างแล้ว, หน้า 138.
                      103   นิยม รัฐอมฤต. อ้างแล้ว, หน้า 88.

                      104   พิษณุ สุ่มประดิษฐ์. (ม.ป.ป.). “ชวลิต ยงใจยุทธ (พลเอก).” ฐานข้อมูลการเมือง
                   การปกครอง สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก <http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=
                   ชวลิต_ยงใจยุทธ_(พลเอก)> เข้าถึงเมื่อ 31 มกราคม 2560.




                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 1
   216   217   218   219   220   221   222   223   224   225   226