Page 222 - kpi18886
P. 222
214
ทางการเมืองผ่านการมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่รัฐ ปัจจัยทางวัฒนธรรม
105
โดยอาศัยฐานะความเป็นผู้นำตามธรรมชาติที่ได้รับการยอมรับนับถือจากคนใน
106
ท้องถิ่น และปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยการใช้ความรุนแรงและเครือข่ายทาง
107
การเมืองในการผูกขาดตลาดและทำธุรกิจผิดกฎหมาย แต่ไม่ว่านักการเมือง
ภูมิภาคซึ่งถือเป็นชนชั้นนำในท้องถิ่นเหล่านี้จะอาศัยปัจจัยใดในการสร้างอิทธิพล
ทางการเมืองของตนและพรรคพวกขึ้นมา ความเป็นเจ้าพ่อที่สำคัญประการหนึ่งคือ
การเป็นนายทุน เพื่อสร้างฐานทางเศรษฐกิจสำหรับการแข่งขันทางการเมือง
108
ในกระบวนการเลือกตั้ง ส่งผลให้ “เงิน” กลายเป็นปัจจัยหรือฐานทาง
ทรัพยากรทางการเมืองที่สำคัญในการกำหนดผลของการต่อสู้แข่งขันเพื่อเข้าสู่
อำนาจทางการเมืองการปกครอง ดังที่นักวิชาการจำนวนมากเรียกการเมือง
การปกครองของประเทศไทยในยุคนี้ว่าเป็นระบอบ “ธนาธิปไตย”
ความสัมพันธ์ของชนชั้นนำในภูมิภาคกับชนชั้นนำระดับชาติดังกล่าว ทำให้
นักการเมืองซึ่งมีพื้นฐานจากการเป็นตระกูลนักธุรกิจท้องถิ่น ก้าวเข้ามา
เบียดแทรกพื้นที่ในสภาผู้แทนราษฎรของนักการเมืองในช่วงก่อนหน้านั้นที่เคยอยู่
105 เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (2546). “เจ้าพ่ออุปถัมภ์กับรัฐอุปถัมภ์.” วารสารสังคมศาสตร์ 43
(1): 444-456; สมบัติ จันทรวงศ์. (2535). “บทบาทของเจ้าพ่อท้องถิ่นในเศรษฐกิจและ
การเมืองไทย: ข้อสังเกตเบื้องต้น.” ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร และสังศิต พิริยะรังสรรค์, รัฐ ทุน
เจ้าพ่อท้องถิ่นกับสังคมไทย. เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
106 ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (2533). “โคตรเหง้าเหล่ากอเจ้าพ่อตะวันออก.” ศิลปวัฒนธรรม
11 (8): 76-83; Ockey, James. 2004. Making Democracy: Leadership, Class,
Gender, and Political Participation in Thailand. Honolulu: University of Hawaii Press.
107 McVey, R. (2000). “Of Greed and Violence, and Other Signs of Progress.” In
Money & Power in Provincial Thailand, ed. R. McVey, Hawaii: University of Hawaii
Press, 1-29.
108 ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์และโอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2549). “เจ้าพ่อท้องถิ่น การเมือง
โลกาภิวัตน์, หน้า 358-422.” ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2549). การต่อสู้ของทุนไทย 2:
การเมือง วัฒนธรรม เพื่อความอยู่รอด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน; นพนันท์ วรรณเทพสกุล.
(2549). “ก่อสร้างการเมือง การเมืองก่อสร้าง, หน้า 280-357.” ใน ผาสุก พงษ์ไพจิตร. 2549.
การต่อสู้ของทุนไทย 2: การเมือง วัฒนธรรม เพื่อความอยู่รอด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.
การประชุมกลุมยอยที่ 1