Page 225 - kpi18886
P. 225
217
(6) การได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งภายหลังการปฏิรูปการเมือง
พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน
การเข้าครอบงำพรรคการเมืองโดยเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ
ภายหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” และการปฏิรูปการเมืองโดยการร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นปรากฏการณ์ที่
สืบเนื่องมาจากการที่ก่อนหน้านั้นได้มีนักธุรกิจ (หรืออาจเรียกว่าเป็นตระกูล
นักธุรกิจ) เข้าไปมีบทบาททางการเมืองผ่านระบบพรรคการเมือง และผ่านการ
115
เลือกตั้ง และเมื่อนักธุรกิจเหล่านี้ได้เข้ามาเป็นนักการเมืองก็ได้มีการสร้าง
116
ทายาททางการเมือง และแสดงตัวออกมาอย่างเปิดเผย เช่น นายพงษ์ สารสิน
นายสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ นายประจวบ ไชยสาส์น นายกร ทัพพะรังสี
นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รวมถึงกลุ่มตระกูลนักธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ ตระกูลเทียน
ทอง ตระกูลหาญสวัสดิ์ ตระกูลไกรฤกษ์ ตระกูลลิมปพันธ์ ตระกูลรัตตกุล
117
ตระกูลฉายแสง ตระกูลสภาวสุ เป็นต้น แต่เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ
ขึ้นในปี 2540 นักธุรกิจที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองหลายคนต้องลดบทบาท
ของตนเองลง บางคนต้องออกจากการเมืองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง เนื่องจาก
กลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมหลายกลุ่มประสบปัญหาล้มละลาย ปิดกิจการลง และ
หลายธุรกิจที่ถูกบริษัทต่างชาติเข้ามาซื้อกิจการ มีการปรับวิธีการบริหาร รูปแบบ
กลยุทธ์ทางธุรกิจ และทำการลดต้นทุนลงเพื่อคงความอยู่รอด ส่งผลให้พนักงาน
118
บริษัทจำนวนมากถูกเลิกจ้าง ในขณะที่กลุ่มธุรกิจบางกลุ่ม เช่น กลุ่มธุรกิจ
โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ และสื่อสารมวลชน ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่
สามารถปรับองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กลุ่มเหล่านี้ได้เข้ามามีบทบาทอำนาจต่อ
รองทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมของ
พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (ยศในขณะนั้น) ซึ่งต่อมาได้เข้ามามีบทบาททาง
115 ประเวศ วะสี. (2549). จากหมอประเวศ ถึง ทักษิณ. กรุงเทพฯ: มติชน; Siripan
Noksuan Sawasdee, 2006. Op. cit.
116 กลุ่มตระกูลเหล่านี้บางตระกูลได้ส่งบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทั้งพ่อ ลูก พี่น้อง พี่เขย
น้องเขย หลาน สะใภ้ ลงสมัครรับเลือกตั้งพร้อมๆ กันก็มี
117 ผาสุก พงษ์ไพจิตร และสังศิต พิริยะรังสรรค์. (2535). อ้างแล้ว, หน้า 71.
118 ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2549). การต่อสู้ของทุนไทย 2: การเมือง วัฒนธรรม เพื่อความ
อยู่รอด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน
การประชุมกลุมยอยที่ 1